Saturday, October 3, 2009

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

เลขเสร็จ 242/2532

เรื่อง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

บันทึก

เรื่อง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

-------

เนื้อหา

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/3325

ลงวันที่ 27 เมษายน 2532 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งจากสำนักราชเลขาธิการว่า นายรัตนาวุธ

วัชโรทัย พนักงานโท ระดับ 5 สำนักพระราชวัง บุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ

วัชโรทัย ได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสืบตระกูลพระยา

อนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบแล้วพบว่า นายรัตนาวุธ

วัชโรทัย เป็นบุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย ซึ่งเป็นบุตรชายใหญ่ของพระยา

อนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2514 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 4

พฤศจิกายน 2518 เมื่อพิจารณาการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมาตรา 9*(1)

----------------------------------------------------------------

*(1) พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484

มาตรา 9 ให้มีการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ดั่งต่อไปนี้

1. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า

วิเศษ บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมี

ชีวิตอยู่ และการสืบตระกูลตามข้อนี้ให้มีตลอดไปจนกว่าจะหาตัวผู้สืบสายโลหิตที่เป็น

ชายไม่ได้

2. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า

บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมีชีวิตอยู่

แต่การสืบตระกูลตามข้อนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงนี้

3. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษหรือทุติยจุลจอมเกล้า บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบ

ตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว การสืบตระกูลตามข้อนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงนี้

[มีต่อหน้าถัดไป]

วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามพ.ศ.2484 ที่บัญญัติความ

สรุปได้ว่า เมื่อบิดาซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษหรือทุติยจุลจอมเกล้าล่วงลับไป บุตรชายใหญ่ของจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ขณะนั้น

ซึ่งบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ในตระกูลรับรองยกย่องมีความประพฤติและหลักฐานดี

สมควรจะรักษาเกียรติแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะเป็นผู้ได้รับพระราชทาน

เว้นแต่บุตรชายที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสียก่อนได้รับพระราชทาน

ก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายนั้น ในกรณีนี้ ผู้ที่จะได้รับ

พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลคือนายแก้วขวัญ วัชโรทัย ซึ่งเป็น

บุตรชายใหญ่ของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรยังมีชีวิตอยู่ ขณะนี้ดำรงตำแหน่ง

-----------------------------------------------------------

[ต่อจากเชิงอรรถที่ (1)]

การสืบตระกูลดั่งเช่นว่ามาทั้งหมดนี้ บุตรชายใหญ่ของจำนวนบุตร

ที่มีชีวิตอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้จะได้รับพระราชทาน แต่ต้องเป็นบุตรซึ่งบิดามารดา

หรือญาติผู้ใหญ่ในตระกูลรับรองยกย่อง ประกอบกับมีความประพฤติและหลักฐานดี

สมควรที่จะรักษาเกียรติแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ หากบุตรชายใหญ่นั้น

ไม่สมควรจะได้รับพระราชทาน บิดาจะขอพระราชทานให้บุตรชายรองลงไปตาม

ลำดับก็ได้ เมื่อทรงพระราชดำริเห็นสมควรจะได้พระราชทานเป็นพิเศษ การสืบ

ตระกูลโดยพระราชทานเป็นพิเศษเช่นนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงผู้ได้รับพระราชทาน

นั้นเท่านั้น

เมื่อบุตรชายที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสียก่อนได้รับ

พระราชทานก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายนั้น โดยพิจารณาตาม

หลักเกณฑ์ดั่งกล่าวมาในวรรคก่อน ถ้าไม่มีหลานดั่งกล่าวแล้ว จะได้พระราชทาน

แก่บุตรชายคนถัดไป ถ้าบุตรชายคนถัดไปวิกลจริตหรือตายก็จะได้พระราชทานแก่

หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนถัดไปนั้น โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกัน

ถ้าไม่มีหลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนถัดไปนั้น ให้ได้แก่บุตรชายคนใดคนหนึ่ง

ที่สมควร

เลขาธิการพระราชวัง ดังนั้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ซึ่งเป็นหลานจึงไม่อยู่

ในหลักเกณฑ์ขอพระราชทานตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม

เพื่อจะได้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงขอหารือว่า

ความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวถูกต้องตามพระราชบัญญัติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ.2484 หรือไม่ประการใด

คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 5)

ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว โดยได้ฟังคำชี้แจงของผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี(สำนัก

เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)แล้ว เห็นว่า

ตามมาตรา 9 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พุทธศักราช 2484 หลานจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลปู่

ต่อเมื่อบิดาของตนซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสีย

ก่อนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล กรณีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า

พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษ เมื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2518

ผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตาม

มาตรา 9 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พุทธศักราช 2484 คือนายแก้วขวัญ วัชโรทัย บุตรชายใหญ่ของพระยาอนุรักษ์

ราชมณเฑียร ซึ่งยังมีชีวิต และรับราชการอยู่ ดังนั้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย

บุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย และเป็นหลานของพระยาอนุรักษ์ราช

มณเฑียรจึงเป็นผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

สืบตระกูลพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์

จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484

(ลงชื่อ) อมร จันทรสมบูรณ์

(นายอมร จันทรสมบูรณ์)

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

พฤษภาคม 2532.

.

ไพบูลย์ - คัด/ทาน

ที่มา :
http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/deca/2532/c2_0242_2532.htm

No comments:

Post a Comment