Saturday, October 3, 2009

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่
ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงเสนี) (พ.ศ. 2320-2392) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) "เจ้าพระยาบดินทรเดชา" เป็นราชทินนามพิเศษ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานราชทินนามนี้มีแต่ท่านเพียงผู้เดียวเท่านั้น

ชาติกำเนิด
เจ้าพระยาบดินทรเดชา ..... เป็นบุตรคนที่ 4 ของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กับท่านผู้หญิงฟัก เมื่อปีระกา 2320 บรรพบุรุษของท่านเป็นพราหมณ์ ชื่อ " ศิริวัฒนะ " รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่ง " ราชปุโรหิต " บิดาของท่านเป็นข้าหลวงเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นที่สมเด็จพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ..... เกิดวันพุธ เดือนยี่ แรมหัวค่ำ ปีมะแม พ.ศ. 2318 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม 2318 ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออก ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตกรุงเทพมหานคร ( คือบริเวณสะพานช้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทย)

การศึกษา
..... ได้รับการศึกษาตามแบบบุตรหลานขุนนาง ซึ่งสันนิษฐานว่าศึกษาอักขรสมัยในสำนักพระวันรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

บุคลิกลักษณะ
..... ท่านเป็นผู้เข้มแข็ง เฉียบขาด อดทน เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความละเอียดรอบคอบ รู้และเข้าใจบุคคลอื่น รู้เท่าทันเหตุการณ์

รับราชการ
..... ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยบิดาได้นำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวง อิศรสุนทร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " จมื่นเสมอใจราช "
..... ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " พระพรหมสุรินทร ์" เจ้ากรมพระตำรวจขวา เมื่อกลับจากรับราชการที่เมืองเขมรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาราชโยธา " และต่อมาได้เป็น " พระยาเกษตรรักษา " ว่าการกรมนา ฝ่ายพระราชวังบวร
..... ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์โดยลำดับ จาก " พระยาราชสุภาวด ี" เป็น " เจ้าพระยาราชสุภาวด ี" ว่าที่สมุหนายก และเป็น " เจ้าพระยาบดินทรเดชสมุหนายก " ในขณะที่ท่านมีอายุ 53 ปี

jauwprayaผลงาน
..... ในฐานะแม่ทัพ ท่านสามารถนำทัพออกรบจนประสบผลสำเร็จ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้
..... - ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทร์ พ.ศ. 2369-2372
..... - สงครามระหว่างไทยกับญวน พ.ศ. 2376-2390
..... - ปราบการจราจลในเขมร พ.ศ. 2376-2392
..... ในด้านการทูตและการเมือง ท่านมีความสามารถในการเจรจาโต้ตอบเชิงการทูต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำสงคราม เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องใช้กำลัง เช่น การเจรจาปล่อยญวณที่เมืองโพธิสัตว์ เจรจาปัญหาญวณเกลี้ยกล่อมเขมร และการแต่งตั้งพระองค์ด้วงไปปกครองเขมร
..... ในด้านเศรษฐกิจ ท่านสามารถแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจแตกสลายของเขมรในช่วงการทำสงครามติดต่อกัน ถึง 14 ปี โดยการหาเสบียงอาหารให้เพื่อบรรเทาความขาดแคลน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรทำนาปรัง ราษฏรทำนาไม่ได้ผลก็กราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดยกเว้นไม่เก็บค่าที่นา แม้แต่การจัดหาตุ่มใส่น้ำให้เขมรที่เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านก็ยังเอาใจใส่ไม่ละเลย
..... ในด้านรักษาความสงบราบคาบ ท่านได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้จัดการดูแลเมืองเขมร ซ่อมแซมป้อมค่ายเมืองพระตะบองเพื่อใช้เป็นฐานกำลังของไทยที่จะคุมเชิงและควบ คุมเขมร ให้การสนับสนุนพระองค์ด้วงกษัตริย์ของเขมร โดยเอาใจใส่ตรวจตราดูแลความมั่นคงและปลอดภัยให้ด้วย และจัดการสร้างเมืองอุดงมีชัย มีการขุดคูเมือง ทำเชิงเทิน สร้างป้อมค่ายให้แข็งแรง ท่านนำนโยบายห้ามสูบฝิ่น ซื้อขายฝิ่น ไปใช้ในเขมร อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาโจรผู้ร้าย ท่านจะกวดขันห้ามปราม เมื่อจับได้จะทำโทษอย่างหนักไม่เว้นแม้แต่บุตรหลานท่าน
..... ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านสืบทอดพระพุทธศาสนาหลายอย่างคือ
..... สร้างวัดใหม่ ได้แก่
..... - วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก เวิ้งนครเกษม)
..... - วัดเทพลีลา (วัดเทพลิ้นลา หรือวัดตึกคลองตัน)
..... - วัดพระยาทำ (วัดกระโดน)อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
..... - วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดโรงเกวียน อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดตราพระยา อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดหลวงบดินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
..... - วัดที่เมืองพระตะบอง และเมืองอุดงมีชัย ในเขมร
..... ปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรม ได้แก่
..... - วัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม)
..... - วัดปรินายก (วัดพรหมสุรินทร์)
..... - วัดช่างทอง (วัดเกาะเรียน อยุธยา)
..... - วัดวรนายกรังสรรค์ (เขาดิน) อยุธยา
..... - วัดศาลาปูน กรุงเก่า
..... - วัดอรัญญิกแขวงเมืองสระบุรี

อสัญกรรม
..... วันอาทิตย์ ที่ 24 มิถุนายน 2392 ด้วยโรคปัจจุบัน (อหิวาตกโรค) ที่บ้านริมคลองโอ่งอ่าง (บริเวรเชิงสะพานหัน กับบ้านดอกไม้) รวมศิริอายุ 72 ปี ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว

อนุสรณ์สถาน
..... จากผลงานและคุณงามความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติ ทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณ ของท่านหลายแห่งดังนี้
..... - เมืองอุดงมีชัย ประเทศเขมร
..... - วัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม)
..... - โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
..... - โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
..... - วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร
..... - ค่ายบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 อ.มะขาม จ.จันทบุรี
..... - ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวรชายแดนที่ 12 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
..... - ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 อ.เมือง จ.ยโสธร

แหล่งข้อมูล :
( คัดจากหนังสืออนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี)

http://www.bodin4.ac.th/jauwpraya.html

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2_%28%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5%29

No comments:

Post a Comment