เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้ว

พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของราชาธิปไตย
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามทางสืบสวนได้ความว่า บรรพบุรุษของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นพราหมณ์ ชื่อศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ในตำแหน่งราชปุโรหิต มีบุตรได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่ พระมหาราชครูพระราชปุโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ศรีบรมหงส์ องค์บุริโสดมพรหมทิชาจารย์
พระมหาราชครู มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๒ คน คือ เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) และเจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)

เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๓ คน คือ
๑. เจ้าพระยานเรนทราภัย(บุญเกิด)
๒. เจ้าพระยาสุรินทรภักดี(บุญมี)
๓. เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์(อู่)
ได้ ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช เป็นต้นสกุล "ศิริวัฒนกุล","จันทโรจวงศ์","บุรณศิริ","สุจริตกุล","ภูมิรัตน","ชัชกุล" รวม ๖ สกุล

เจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๖ คน คือ
๑. ญ.เลื่อน
๒. เจ้าพระยาพลเทพ(ทองอิน) ต้นสกุล "ทองอิน" และ"อินทรผล"
๓. กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์(มุก) ภัสดากรมหลวงนรินทรเทวี(กุ) ต้นสกุล "นรินทรกุล"
๔. ท้าวทรงกันดาร(ทองศรี)
๕. ญ.ทองเภา ไปอยู่พม่าเพราะถูกกวาดต้อนเมื่อคราวไทยเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าเป็นพระราชมารดาพระเจ้าธีบอ
๖. เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)

เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๘ คน คือ
๑. เจ้าจอมปริก ในรัชกาลที่ ๑
๒. จมื่นเด็กชายหัวหมื่นมหาดเล็ก(แตงโม) ในกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๑
๓. เจ้าจอมปรางค์ ในรัชกาลที่ ๒
๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)
๕. หลวงรามณรงค์(โต)
๖. พระยาพิชัยสงคราม(โห้)
๗. หลวงมหาใจภักดิ์(เจริญ)
๘. หลวงพิพิธ(ม่วง)
๙. คุณหญิงบุนนาคกำแหงสงคราม(ทองอิน อินทรกำแหง)

บุตร ที่ ๔ คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)นั้นเกิดแต่ท่านผู้หญิงฝัก เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๒๐ เป็นปีที่ ๑๐ ในสมัยกรุงธนบุรี ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออกซึ่งบัดนี้นับเป็นเขตจังหวัดพระนคร ตอนเชิงสะพานข้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทยทุกวันนี้

ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาอภัยราช(ปิ่น)นำนายสิงห์ บุตรชายขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศนสุนทร นายสิงห์ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความอุตสาหะพากเพียรสม่ำเสมอ ได้รับพระราชทานยศโดยลำดับจนเป็น จมื่นเสมอใจราช
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๑ แล้ว โปรดฯให้ย้ายไปรับราชการที่วังหน้า ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พระนายเสมอใจราช
ใน ระหว่างที่เป็นพระนายเสมอใจราชนี้เอง เคยต้องโทษครั้งหนึ่งเพราะต้องหาว่าพายเรือตัดหน้าฉาน ตามเรื่องมีว่า ตอนเช้าวันนั้นพนักงานได้จัดเทียบเรือพระที่นั่งและเรือกระบวนไว้พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังมิได้เสด็จลง หมอกกำลังลงจัดพระนายเสมอใจราช(สิงห์)มีธุระผ่านเรือไปทางนั้นในระยะไม่ห่าง เพราะหมอกลงคลุมขาวมัวไปหมด ในที่สุดก็ถูกจับไปลงพระราชอาญาจำอยู่ที่ทิมในพระราชวังหลวง แต่อาศัยพระอนุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ได้ทรงพระกรุณาช่วยให้พ้นโทษโดยเร็ว
เมื่อพระนายเสมอใจราช(สิงห์)พ้น โทษแล้ว ได้รับราชการในตำแหน่งเดิมอีก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรศักดิ์เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวร
พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)เป็นผู้มีนิสัย ขะมักเขม้นทั้งในทางราชการ และในการทางบ้าน เมื่อว่างจากราชก็ดำริการค้าขาย พยายามต่อสำเภาแต่งออกไปค้าขายยังเมืองจีน สิ่งที่ขายได้ผลดีมากคือเศษเหล็ก จัดหาซื้อส่งไปขายเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งต่อสำเภาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอู่ตะเภา ก็คือที่บริเวณวัดตึกทุกวันนี้ การค้าขายได้กำไรดี ทางราชการก็เจริญดีเรื่อยมาจนต้องโทษเป็นครั้งที่ ๒
ราชการสำคัญของ พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)ที่ต้องปฏิบัติในระหว่างนี้ก้คือการนา ได้ออกไปควบคุมการทำนาหลวงอยู่เนื่องๆ ในที่สุดต้องหาว่าไปตั้งค่ายคูอย่างทำศึก และประกอบกับการที่ค้าขายเศษเหล็กเป็นส่วนตัวอยู่ด้วย น่าระแวงว่าจะสะสมเหล็กทำอาวุธบ้างกระมัง จึงถูกนำตัวมาจำไว้ในพระบรมมหาราชวัง แต่ก็ได้อาศัยพระบารมีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเป็นครั้งที่ ๒ เหมือนกัน ซึ่งเวลานั้นยังเป็นรัชกาลที่ ๒ พระองค์อยู่ในฐานะเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ และทรงบัญชาราชการสำคัญหลายอย่าง ทรงอนุเคราะห์พระยาเกษตรรักษา(สิงห์) แม้จะต้องโทษถูกจำอยู่ก็ผ่อนหนักเป็นเบาตลอดมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์แล้ว ทรงพระกรุณาให้พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)พ้นโทษ และต่อมาโปรดฯให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดี ตั้งแต่นั้นมาชีวิตของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นใน กิจการสำคัญของชาติ จนปรากฏเกียรติคุณประจักษ์อยู่ในพระราชพงศาวดารเป็นต้น
ถึง พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๓ พระเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทร์คิดการกบฎยกกองทัพจู่โจมเข้ามายึดนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกขึ้นไปทางสระบุรี แล้วโปรดฯให้กองทัพยกไปทางเมืองปราจีนบุรี เพื่อรุกเข้าทางช่องเรือแตกอีก ๔ ทัพ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เป็นแม่ทัพหน้า
พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เดิน ทัพถึงเมืองสุวรรณภูมิพบกองทัพเจ้าโถง นัดดาพระเจ้าอนุวงศ์ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมเมืองพิมายก็ยกเข้าตีถึงตะลุมบอน ทัพเจ้าโถงรับไมหยุดก็แตกกระจายไปสิ้น เมื่อได้ชัยชนะแล้วพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพไปตั้งอยู่เมือง ขอนแก่น แล้วยกไปตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตกอีก จึงหยุดพักพลอยู่ ณ เมืองยโสธร เพื่อสะสมกำลังสำหรับยกไปปราบนครจำปาศักดิ์ต่อไป ฝ่ายเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งค่ายอยู่เมืองศรีสะเกษ ได้ทราบข่าวว่าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จะยกกองทัพตัดตรงไปนครจำปาศักดิ์ ก็รีบยกมาตั้งรับที่เมืองอุบลราชธานี และให้เจ้าปานและเจ้าสุวรรณอนุชาทั้งสอง ยกทัพมาตั้งยันทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่ที่แดนเมืองยโสธร พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพออกตีทัพเจ้าปานและเจ้าสุวรรณแตก แล้วตามตีทัพเจ้าราชบุตร ณ เมืองอุบลราชธานี ฝ่ายไทยชาวเมืองอุบลราชธานีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเจ้าราชบุตร เมื่อทราบว่ากองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปถึง ก็พร้อมกันก่อการกำเริบฆ่าฟันพวกเจ้าราชบุตรล้มตายเป็นอลม่านขึ้นในค่าย กองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ตีโอบเข้ามา เจ้าราชบุตรเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็พาพรรคพวกหนีไปนครจำปาศักดิ์ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)รีบยกกองทัพติดตามไปไม่ลดละ
ฝ่ายครัวเมือง ต่างๆทางเจ้าราชบุตรกวาดไปรวมไว้ในนครจำปาศักดิ์ทราบขจ่าวว่ากองทัพเจ้า ราชบุตรเสียที จึงพร้อมกันก่อการกำเริเบเอาไฟจุดเผาบ้านเรือนในนครจำปาศักดิ์ไหม้ขึ้นเป็น อันมาก เจ้าราชบุตรเห็นดังนั้นจะเข้าเมืองมิได้ก็รีบหนีข้ามฟากแม่น้ำโขงไปทางตะวัน ออก พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ยกกองทัพเข้าไปตั้งมั่นในนครจำปาศกดิ์ และให้กองตระเวนออกสืบจับพวกเจ้าราชบุตร ได้ตัวเจ้าราชบุตร เจ้าปาน เจ้าสุวรรณ มาจำไว้ แล้วเดินทัพมาตั้งอยู่เมืองนครพนม พอทราบข่าวว่าทัพหลวงกรมพระราชวังบวร จะเสด็จกลับกรุงเทพฯจึงรีบเดินทางมาเฝ้ากราบทูลชี้แจงข้อราชการ กรมพระราชวังบวรก็โปรดฯให้พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่จัดการบ้านเมืองทางภาค อีสานจนกว่าจะสงบเรียบร้อย
ครั้นกรมพระราชวังบวรเสด็จกลับถึง กรุงเทพฯก็กราบทูลความดีความชอบของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ที่เข้มแข็งในการ สงคราม สามารถปราบปรามกบฎให้พ่ายแพ้ลงได้โดยเร็ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้มีตราขึ้นไปเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายก ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เวลานั้นอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๑
เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) จัดการบ้านเมืองตามท้องถิ่นให้สงบลงตามสมควรแล้ว ให้เพี้ยเมืองจันทน์อยู่รักษานครเวียงจันทน์พร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการ จึงพาเจ้าอุปราชลงมาเฝ้าทูลละอองฯ ณ กรุงเทพฯในปลายปีนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบางให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์)ผู้ว่าที่สมุหนายกเชิญไปสร้างพระวิหารประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส
รุ่งขึ้นปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ โปรดฯให้เจ้าพำระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ผู้ว่าที่สมุหนายก ยกกองทัพไปนครเวียงจันทน์อีก
เมื่อ ไปถึงหนองบัวลำภู เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็แต่งให้พระยาราชรองเมือง พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์เมืองนครราชสีมา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้เปลี่ยนราชทินนามนี้เป็น"บรรเทาทุกขราษฎร์ " เมื่อปีฉลูเบญจศก--กัมม์) หลวงสุเรนทรวิชิต เป็นกองหน้าคุมทหาร ๕๐๐ คน ยกล่วงหน้าขึ้นไปตั้งอยู่พันพร้าวก่อน ครั้นกองหน้าไปถึงพันพร้าว ได้ทราบข่าวเพี้ยกรมการที่ให้อยู่รักษานครเวียงจันทน์ มีกิริยาอาการผิดปกติอยู่บ้าง พระยาราชรองเมืองไม่ไว้ใจแก่เหตุการณ์จึงจัดให้พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุเรนทรวิชิต แบ่งกำลัง ๓๐๐ คน ยกข้ามไปตั้งฟังราชการอยู่ที่นครเวียงจ้นทน์
ฝ่ายพระเจ้าอนุวงศ์หนี ไปพึ่งญวน ญวนอุดหนุนและนำมาส่งยังนครเวียงจันทน์ พร้อมทั้งมีกำลังในอาณาเขตเวียงจันทน์ประมาณ ๑,๐๐๐ คน พวกญวนราว ๘๐ คนเศษ พระเจ้าอนุวงศ์ทำเป็นทียอมสารภาพรับผิดแสดงไมตรีจิตกับนายทัพนายกองไทยเป็น อย่างดี จนนายทัพนายกองไทยหลงเชื่อว่าพระเจ้าอนุวงศ์จะไม่เป็นปรปักษ์อีก พอรุ่งขึ้นเพลาบ่าย ๔ โมง พระเจ้าอนุวงศ์ก็ยกพวกเข้าล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุเรนทรวิชิต ซึ่งตายใจมิได้ระวังคุมเชิงไว้ พลทหารอยู่บ้างไม่อยู่บ้าง ในที่สุดก็แตกเสียทีแก่พระเจ้าอนุวงศ์ทั้งนายทั้งพลถูกฆ่าตายเกือบหมด ที่พยายามหนีลงน้ำจะว่ายข้ามฟากมา ก็ถูกพวกเจ้าอนุวงศ์ลงเรือตามฆ่าฟันย่อยยับ ได้เหลือรอดตายว่ายน้ำหนีมาได้คือ หมื่นรักษานาเวศกับพลทหารเพียง ๔๐ เศษ
เจ้า พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ได้ทราบว่าพวกญวนพาพระเจ้าอนุวงศ์กลับมานคร เวียงจันทน์ ก็รีบเดินทัพไปพอถึงค่ายพันพร้าวบ่าย ๓ โมง ก่อนหน้าที่พระเจ้าอนุวงศ์จะลงมือล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงครามเพียงชั่วโมง เดียว เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เห็นชาวเวียงจันทน์กลุ้มรุมฆ่าฟันที่หาดทรายหน้า เมืองก็เข้าใจว่ากองพระยาพิชัยสงครามคงเป็นอันตราย เป็นเวลาจวนตัวจะรีบยกกองทัพข้ามไปช่วย เรือก็ไม่มี ทั้งกำลังคนก็ยังน้อย พอเวลาค่ำหมื่นรักษาเทเวศมารายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนเเย็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จะตั้งรับอยู่ที่ค่ายพันพร้าวทหารก็น้อยตัว จะถอนมานครราชสีมาก็ไกลนัก พระยาเชียงสาเรียนว่า เมืองยโสธรผู้คนข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ รับอาสาจะนำเดินทางลัดก็ตกลงออกเดินทางจากค่ายพันพร้าวในคืนวันนั้น มุ่งตรงไปยังเมืองยโสธรทันที
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ เมื่อสังหารกองพระยาพิชัยสงครามวอดวายแล้ว ทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปตั้งอยู่ค่ายพันพร้าว ก็จัดให้เจ้าราชวงศ์รีบยกกองทัพข้ามฟากมาล้อมจับเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ครั้นเจ้าราชวงศ์ยกมาและทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปเมืองยโสธร เสียแล้ว เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ก้เร่งกองทัพออกตามไปโดยเร็ว
วัน รุ่งขึ้นเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ได้ทราบว่าเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพ ตามมา จึงรีบจัดกองทัพยกไปต่อสู้ กองทัพทั้งสองปะทะกันที่บกหวาน ต่างบุกบั่นสู้รบถึงตะลุมบอน บังเอิญม้าของเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เหยียบคันนาแพลงล้มลงทับขาเจ้า พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ทันใดนั้นพอดีเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ขับม้าสะอึกเข้าไปถึง จึงเอาหอกแทงปักตรงกลางตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)รู้ท่วงทีอยู่ก่อนแล้วจึงเบ่งพุ่งลวงตาเจ้า ราชวงศ์เวียงจันทน์เมื่อหอกพุ่งปร๊าดลงไป เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)แขม่วท้องแล้วเอี้ยวหลบปลายหอกแทงเฉี่ยวข้าง เสียดผิวท้องถูกผ้าทะลุ หอกก็ปักตรึงอยู่กับดิน เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์จะดึงหอกขึ้นแทงซ้ำ แต่เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จับคันหอกยึดไว้ แล้วพยายามชักมีดหมอประจำตัวจะแทงสวนขึ้นไป เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ดึงหอกไม่ได้สมประสงค์จึงชักดาบที่คอม้าออก เงื้อจะจ้วงฟันเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ฝ่ายหลวงพิพิธ(ม่วง)น้องชายเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เห็นดังนั้น จึงกระโจนเข้ารับดาบเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ เสียทีถูกเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ฟันขาดใจตายทันที ขณะที่เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์กำลังจ้วงฟันอยู่นั้น เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ชักมีดหมอออกทัน และได้ทีก็แทงสวนขึ้นไปถูกโคนขาเจ้าราชวงศืเวียงจันทน์ เป็นแผลลึกและตัวเจ้าราชวงศืเวียงจันทน์ก็ผงะตกจากหลังม้าเลือดสาดแดงฉาน พวกมหาดเล็กเข้าใจว่านายตาย รีบช่วยกันประคองเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์จัดการหามหนีไปโดยเร็ว
ฝ่าย เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ให้จัดการบาดแผลเรียบร้อยเเล้ว เร่งทหารให้รีบตามกองทัพเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ไปทันที ตามไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขงก็ไม่ทัน จึงเดินทางไปตั้งพักอยู่ที่พันพร้าว
การ ที่เจ้าราชวงศ์ต้องถอยหนีคราวนั้น เป็นผลให้ชาวเวียงจันทน์เข็ดขยาดกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เป็นอัน มาก แม้จนพระเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่คิดต่อสู้อีก พระเจ้าอนุวงศ์รีบจัดแจงพากันหนีไปจากนครเวียงจันทน์ในวันรุ่งขึ้น
กอง ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เดินไปถึงเมืองพันพร้าวภายหลังเมื่อพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปแล้ววันหนึ่ง จึงแบ่งกำลังยกไปตามจับโดยเร็วที่สุด จับได้เจ้านายบุตรหลานพระเจ้าอนุวงศ์มาหลานองค์ ทราบว่าพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปทางเมืองพวน ก็เร่งให้กองทหารรีบตามไปจับให้ได้ ถึงเดือนธันวาคม เมืองพวนช่วยกับเมืองหลวงพระบางพยายามตามจับพระเจ้าอนุวงศ์ส่งมาให้ จับได้ที่น้ำไฮเชิงเขาไก่แขวงเมืองพวน เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่จัดราชการจนเรียบร้อยตลอด เห็นว่าเป็นที่วางใจก็กลับลงมาเฝ้ากราบทูลข้อราชการใน พ.ศ. ๒๓๗๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาสถาปนา เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ขึ้นเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เวลานั้นท่านอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๓
เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)สมุห นายก รับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่ในพระนครเพียง ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๗๕ ก็โปรดฯให้ออกไปราชการที่เมืองพัตบอง รุ่งขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ ไทยจำเป็นต้องรบกับญวน(ดังปรากฏเหตุการณ์ตามที่กรมศิลปากร ทำบันทึกประจำปีลงไว้ให้ทราบ มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุต่อไปนี้) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)สมุหนายกเป็นแม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ ยกไปรบกับญวนขับเคี่ยวกันมาตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖
ในระหว่างที่ ไปบัญชาการรบอยู่ ณ เมืองพัตบอง พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง ศรีเพ็ญ)แต่งให้หมื่นจงอักษร คุมเอาของกิน ๕๐ ชะลอมส่งไปให้ เป็นการแสดงไมตรีจิตตามฉันผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)นอกจากจะตอบขอบใจตามธรรมเนียมแล้ว ยังแสดงความรู้สึกอันจริงใจให้พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง ศรีเพ็ญ)ทราบอีกว่า การของกินนั้นอย่าให้ส่งเสียเป็นธุระอีกเลย ถึงจะบรรทุกเกวียนไปเท่าใดก็หาพอไม่ ด้วยนายทัพนายกองมากต้องเจือจานไปทุกแห่ง เป็นนิสัยไปราชการทัพก็ต้องอดอยากเป็นธรรมดา ให้พระยาศรีสหเทพตั้งใจแต่ที่จะตรงราชการ กับให้บอกกระแสพระราชดำริออกไปให้รู้เนืองๆจะได้ฉลองพระเดชพระคุณให้ถูกกับ พระราชดำริ
บางปีเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)ได้กลับเข้ามาเฝ้ากราบ ทูลข้อราชการด้วยตนเองบ้าง และในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกไปบัญชาการทัพที่เมืองพัตบอง บางคราวต้องไปทำการสำรวจกำลังพลตามท้องถิ่น เช่นทางภาคอีสานจะได้ทราบจำนวนที่ใกล้ความจริง เป็นประโยชน์ในราชการต่อไป
เจ้า พระบดินทรเดชา(สิงห์)ต้องไปตรากตรำในการสู้รบกับญวน เพื่อป้องกันเขมรมิให้ถูกญวนกลืนเสียตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ จนถึงปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๑ ในที่สุดญวนขอผูกไมตรีอย่างเดิม ฝ่ายไทยเห็นว่าได้ช่วยเขมรให้กลับมีราชวงศ์ปกครอง และมีอำนาจในการรักษาประเทศเขมรอย่างแต่ก่อน ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาญวนอยู่ในลักษณะเป็นเมืองขึ้นของไทย ฟังพระราชกำหนดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร เป็นแต่ถึงกำหนด ๓ ปีนำบรรณาการไปออกแก่ญวนครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำแนะนำของเจ้าพระยาบดิน ทรเดชา(สิงห์)
จึงโปรดฯให้รับเป็นไมตรีกับญวน และให้มีตราไปถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ปรารภข้อราชการตามสมควร แล้วแจ้งความรู้สึกส่วนพระองค์ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาทราบว่า ทรงพระราชดำริราชการเมืองเขมร เข้าพระทัยว่าทำนองญวนก็จะเหมือนกันกับทำนองแต่ก่อน ที่ไหนจะให้มา กลับมาสมคิดสมหมายง่ายๆ พระราชดำริผิดไปแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)คิดราชการถูก อุตส่าห์พากเพียรจนสำเร็จได้ตามความปรารถนา "ออกไปลำบากตรากตรำ คิดราชการจะเอาเมืองเขมรคืนตั้งแต่ปีมะเส็งเบญจศก ช้านานถึง ๑๕ ปี อุปมาเหมือนหนึ่งว่ายน้ำอยู่กลางพระมหาสมุทร ไม่เห็นเกาะไม่เห็นฝั่ง พึ่งมาได้ขอนไม้น้อยลอยมา ได้เกาะเป็นที่ยึดที่หน่วงว่ายเข้าหาฝั่ง" (ดูตราฉบับลงวันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๐๙)
เมื่อ ได้จัดการพิธีราชาภิเษกพระองค์ด้วง เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ตามพระราชโองการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์)ก้เดินทางกับมาประเทศสยาม ณ วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ ในระหว่างนั้นเกิดจีนตั้วเหี่ยก่อการกำเริบขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)จึงแวะช่วยทำราชการปราบปรามจนสงบ แล้วเข้ามาเฝ้าทูลละอองฯ ณ กรุงเทพฯ
ความอ่อนแอซึ่งมีมาแต่ก่อนจนถึง สมัยนั้น ได้ทำความหนักใจให้แก่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)เป็นอันมาก จนท่านต้องใช้ความเฉียบขาดเป็นหลักในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือทำการปราบปรามกบฎพระเจ้าอนุวงศ์นครเวียงจันทน์ และช่วยป้องกันเขมรจากญวน สำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังน่าเสียใจอยู่บ้างว่า ท่านต้องใช้เวลานานเกินสมควร และขาดผลสำคัญที่น่าจะได้ยิ่งกว่าที่ได้แล้วอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนแอของนายทัพนายกองเป็นเหตุให้ต้องยืดเวลาเยิ่น เย้อออกไป และตัดทอนความไพบูลย์ของผลสำเร็จลงเสียไม่น้อยนั่นเอง เนื่องจากลักษณะที่กล่าวมาในลักษณะตรงกันข้าม เป็นอันพิสูจน์ให้เห็นความมั่นคงของบ้านเมืองได้ประการหนึ่งว่า สยามจะยั่งยืนในเอกราชได้ก็ต้องกำจัดมูลรากของความอ่อนแอให้หมดไปเสีย
นอก จากจะทำประโยชน์อันใหญ่ยิ่งแก่บ้าเมืองแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห)ยังได้พยายามทะนุบำรุงการพระศาสนา เช่นบูรณะปฎิสังขรณ์หรือสร้างวัด แม้ในระหว่างไปราชการทัพก็ยังเป็นห่วงถึง บางคราวได้ขอร้องให้พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง เพ็ญศรี)ช่วยเป็นธุระให้บ้าง
รวมวัดที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ปฎิสังขรและสร้างใหม่ คือ
๑. ปฏิสังขรวัดจักรวรรดิราชาวาส(เดิมเรียกวัดสามปลื้ม) และสร้างพระปรางค์กับวิหารพระบางที่เชิญมาจากนครเวียงจันทร์(พระบางนั้นเดิม อยู่ที่นครเวียงจันทร์ ครั้งกรุงธนบุรีทำสงครามกับนครเวียงจันทร์มีชัยชนะ จึงเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้มีการสมโภชพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นั้นพร้อมกับฉลองชัยชนะของบ้านเมือง เป็นงานมโหฬารยิ่ง เมื่อวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๒ ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระเจ้านันทเสน นครเวียงจันทร์ ขอพระราชทานพระบางกลับคืนไปนครเวียงจันทร์ ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จการปราบกบฏพระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์แล้ว จึงเชิญพระบางกลับลงมาอีก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ )สร้างวิหารประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานกลับไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง แล้วโปรดให้เชิญพระนาคจากหอพระในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานไว้ในวิหารนั้นแทนพระบาง วัดจักรวรรดิราชาวาสสืบมาจนทุกวันนี้)
๒. ปฎิสังขรณ์วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดพระนครในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามใหม่ว่าวัดปรินายก และทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา
๓. ปฏิสังขรณ์วัดช่างทอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านผู้หญิงฝักผู้เป็นมารดาได้สร้างไว้ อยู่ที่เกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔. ปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรร(เขาดิน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕. สร้างวัดเทพลีลา ในคลองบางกะปิ ชาวบ้านเรียกว่าวัดตึกบ้าง วัดตึกคลองตันบ้าง ได้ยินว่าวัดนี้สร้างในระหว่างไปทำสงครามขับเคี่ยวกับญวน เมื่อต้องขุดคลองบางกะปิและทำนาไปตลอดทางเพื่อสะสมเสบียงกองทัพ และเพื่อความบริบูรณ์ของบ้านเมืองในเวลาต่อมาด้วย จึงถือโอกาสให้ทหารในกองทัพได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นที่ยัดหน่วงในการทำศึก และปลูกกำลังใจในการต่อสู้เพื่อรักษาพระศาสนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นอีก
๖. ยกที่บ้านถวายเป็นวัด แล้วสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสนาสนะพร้อม มีชื่อว่าวัดไชยชนะสงครามแต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าวัดตึกจนทุกวันนี้ อยู่ตรงข้ามกับเวิ้งนครเขษมใกล้สี่แยกวัดตึก จังหวัดพระนคร
นอกจาก นี้ยังสร้างวัดที่เมืองพัตบอง และเมืองอุดงมีชัยเป็นต้น อีกทั้งได้ช่วยทะนุบำรุงการพระศาสนาในประเทศเขมร ได้สืบต่อศาสนวงศ์มาจนสมัยปัจจุบันนี้
ปีที่กลับจากประเทศเขมรนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)มีอายุย่างขึ้น ๗๒ ปี แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อมา ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๒ ก็ถึงอสัญกรรมด้วยโรคปัจจุบัน(อหิวาตกโรคซึ่งบังเกิดชุกชุมในปีนั้น) รุ่งขึ้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ พระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ที่เมรุผ้าขาว ณ วัด สระเกศ(แต่ในพงศาวดารว่าเป็นวันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม)
รูป หล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ซึ่งมีอยู่ในเก๋งจีนข้างพระปรางค์วัด จักรวรรดิราชาวาส(วัดสามปลื้ม)นั้น พระพุฒาจารย์(มา)ไปถ่ายมาจามเมืองเขมรอีกต่อหนึ่งแล้วจัดการหล่อขึ้น มีเรื่องเล่ากันมาว่า
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ เมื่อองหริรักษ์(นักองด้วง)พระเจ้ากรุงกัมพูชาได้ทราบว่า เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)ถึงอสัญกรรมแล้ว องหริรักษ์ระลึกถึงบุญคุณที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ ใกล้วัดโพธารามในเมืองอุดงมีชัย(เมืองหลวงเก่าเมืองเขมร)แล้วให้พระภิกษุสุก ชาวเขมรช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น ปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง ชาวเขมรเรียกว่า"รูปองบดินทร"ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๒
การถ่ายอย่างรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชามาหล่อไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาสนี้ เนื่องด้วยพระพุฒาจารย์(มา)เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพยมุนี ระลึกถึงอุปการคุณที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้ความเจริญ เรียบร้อยแก่วัดจักรวรรดราชาวาสมาโดยเอนกประการ นับว่าเป็นอนุสาวรีย์สำคัญที่วัดจักรวรรดิราชาวาสระลึกถึงคุณความดีของเจ้า พระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ซึ่งมีต่อบ้านเมืองและพระศาสนา แล้วร่วมใจกันสร้างขึ้นไว้เป็นทำนองปฏิการคุณโดยปริยาย ซึ่งขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาถึงอสัญกรรมพระพุฒาจารย์ยังเป๋นสามเณรอยู่ที่ วัดจักรวรรดิราชาวาสนี้ ทันได้เห็นกิจการบูรณะของท่านด้วยดีทุกอย่าง จึงได้ให้คนไปวาดเขียนถ่ายอย่างรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองเขมรมา ให้นายเล็กช่างหล่อจัดการหล่อขึ้น ขณะที่ปั้นหุ่นรูปได้อาศัยช่างเขียน และท่านทองภรรยาเจ้าพระยายมราช(แก้ว)ซึ่งมีอายุทันได้เห็นเจ้าพระยาบดินทรเด ชา ช่วยกันติชมแก้ไขเห็นว่าเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชาแล้ว จึงได้จัดการหล่อขึ้น ประจวบกับพระพุฒาจารย์มีอายุครบ ๕ รอบ( ๖๐ ปี)จึงได้ร่วมทำพิธีฉลองอายุในคราวเดียวกัน รูปนี้ หล่อขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๑ กับ พ.ศ. ๒๔๔๗
เหตุประจวบอีกอย่างก็คือขุนวิจิตรจักราวาส (คำ)ไวยาวัจกร วัดจักรวรรดิราชาวาส ขออนุญาตพระพุฒาจารย์สร้างเกซิ้นนามเจ้าพระยาบดินทรเดชาไว้เป็นที่ระลึก สักการะด้วยอักษรจีน อ่านได้ความว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) สลักลงในแผ่นหินอ่อน และสร้างเก๋งจีนข้างพระปรางค์ใหญ่ด้านตะวันออกซึ่งเดิมเคยเป็นที่วางดอกไม้ ธูปเทียนบูชาพระปรางค์ ฝังศิลาจารึกเกซิ้นไว้กับผนังด้านหลังภายในเก๋ง แล้วเลยประดิษฐานรูปหล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชารวมไว้ในเก๋งนั้นด้วยทีเดียว เป็นที่ระลึกสักการะของผู้เคารพนับถือตลอดมาจนทุกวันนี้

ที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&group=1&date=19-03-2007&gblog=10

Comments

Popular posts from this blog

จรัด สุนทรสิงห์ (ศาสตราจารย์)

อติพล สุนทรสิงห์

จรีย์ สุนทรสิงห์ (อาจารย์จรีย์, อ.จรีย์)