Tuesday, October 6, 2009

Sundarasinha - The Origin

จากหนังสือ นามสกุลพระราชทาน,
นามสกุล "สุนทรสิงห์" เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2,318 ที่ได้พระราชทานให้ พ.ต.อ.พระเริงระงับภัย เมื่อครั้นยังเป็นนายพันตำรวจตรีหลวงเริงระงับภัย

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2009&date=08&group=16&gblog=79

๓๒๕๑ สุนทรสมัย Sundarasamaya พันเด็กชาโทแพ กรมยานยตร์หลวง ทวดชื่อแช่ม ปู่ชื่อสมัย 1/7/16

๒๙๔๗ สุนทรสมิต Sundarasmita ราชบุรุษจันทร์ ครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม บิดาชื่อดี ปู่ชื่อแย้ม 8/3/15

๕๕๖๓ สุนทรสิงคาล Sundarasinga^la ขุนอภัยสมบัติ (สงวน) กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาชื่อซุ้น 26/7/19

๒๓๑๘ สุนทรสิงห์ Sundarasinha นายพันตำรวจตรี หลวงเริงระงับภัย (คิด) ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็จ ปู่ชื่อพระพรหมสุรินทร (งาม) ทวดชื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (สิงโต) 7/6/15

๒๑๓๗ สุนทรสินธุ Sundarasindhu นายเปลื้อง กรมพิณพาทย์หลวง บิดาชื่อดี ปู่ชื่อสิน 23/3/14

๒๕๘๐ สุนทรสีมะ Sundarasi^ma นายเรือโทอุย แพทย์ประจำกรมสรรพาวุธทหารเรือ ปู่ชื่อดี บิดาชื่อซิม 3/10/15

๓๑๐๑ สุนทรสุข Sundarasukha ขุนวินิจสาลี (ช้อย) นายทะเบียนที่ดินเมืองชลบุรี ทวดชื่อทองดี ปู่ชื่อทองสุก 28/5/16

๓๔๓๗ สุนทรสุต Sundarasuta รองอำมาตย์เอกอุปถัมภ์ ผู้พิพากษาศาลมณฑลอุดร ปู่ชื่อซุ่นเกี้ยน 10/9/16

๕๙๘๙ สุนทรสุวรรณ Sundarasuvarna นายหมู่โททองดี กรมเสือป่ารักษาดินแดนราชบุรี ปู่ชื่อซุ่นเฮงบิดาชื่อซุ่นเทียน 11/6/25

นามสกุลที่ขอจากมณฑลภูเก็จภูเก็ต

นามสกุลที่เพิ่งพบหลักฐานประวัติศาสตร์:นามสกุล มณฑลภูเก็ต มณฑลภูเก็จ นามสกุลที่เพิ่งค้นพบหลักฐานอยู่บนเพดานศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ผู้ประสงค์จะขอหลักฐานสำเนา โปรดติดต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดตรัง บริการสำเนาให้แผ่นละ ๕๐ บาท ดูตัวอย่างจาก "กาหยี"  บางนามสกุลมีสำเนาหลักฐานที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ในห้องจดหมายเหตุ "ภาพกิจปฐมเหตุ"

ข้อมูล นามสกุลที่เพิ่งพบหลักฐาน

กอหงษ์, (สัญ), กตัญญู, กนิษฐายน, กมุทผล, กลั่นผล, กลัมพะบุตร, กษิรักษา, ก้อนแก้ว, กออุดม, กะเรียว, กังสดาล, กัทลีย์, กันธานนท์, กาญจนะสุต, ก้านกนก, กาลเศรณี, กาหยี, กาฬนาม, กาฬบุตร, กำจัดทุกข์, กำปั่น, กำไร, กำลัง, กิ่งแก้ว, กิ่งแกะ, กิ่งผดุง, กุมภี, กุมารปาล, กุมาระกะ, เกดเมือง, เกริกฤทธิ์, เกษกุล, เกษตริกะ, เกาทัน, เกื้อกูล, แก่นแก้ว, แก่นจันทน์, แก่นสาร, แก่นอิน, แกล้วกล้า, แก้วกลั่น, แก้วขาว, แก้วเขียว, แก้วคำ(ดำ), แก้วผลึก, แก้วพวง, โกเมน, โกยกูล, โกยสิน, ไกรกรึง, ไกรเกริ่น, ไกรจิตติ, ไกรทัด, ไกรเลิศ, ไกรสาตร, ขยันโยธา, ขรขันฑ์, ขวัญแคว้น,

ขวัญเมือง, ขอเหล็ก, ขันตี, ขัมพะบุณย์, ขุนทอง, ขุมทอง, เขจร, เขนทอง, เขียวหวาน, โขมพัสตร์, ไข่มุก, ไขเล่ห์, ไขวิทย์, ไขศิลป์, คงเขตร, คงทน, คงทอง, คงพรรค์, คงเมือง, คงวาที, คงศรี, คงสวัสดิ์, คงสัจ, คงสัจจา, คงอาวุธ, คนขยัน, คมนา, ครรทรง, ครุธทรง, คหาปะณะ, คะรุฑานนท์, คันฉ่อง, คันฉ่อง, คันเต็ง, คันธสิงห์, คำเสน, คีรีเมฆ, คืนเมือง, คุ้มบ้าน, คุ้มพาล, คุ้มไฟ, คุ้มรักษา, คูหา, เครือแก้ว, เครือชู, เครือเซียน, เครือเตียว, เครือทรัพย์, เครือทอง, เครือเพชร์, เครือแพทย์, เครือสนิท, เครือหงษ์, เครือหลี, เครืออินท์, เคหา, ฆ้องไชย, ง่วนกุล, จงรักษ์, จริงจิตร, จักรยาน, จังเหม็ง, จัตุรง, จันทนานนท์, จันทร์แจ่ม, จันทร์เพ็ญ, จำนง, จำปาดะ, จำเริญ, จิตตการ, จิตรกล้า, จิตรปฎิมา, จิตรผ่อง, จิตรมั่น, จิตรหาญ, จิตรา, จินตะนานุช, จีเนกะ, จุลลางกูร, จุลโลปล, จูฑะวาณิช, จูฑามาตย์, เจตนานนท์, เจนทเล, เจนทาง, เจนนาวา, เจนนาวา, เจนยาน, เจนสมุท, เจิมจุล, เจียมคุ้ม, เจียระไน, เจือทอง, โจรหวั่น, ใจตรง, ใจเพชร์, ใจเหล็ก, ฉกาจฤทธิ์, ฉมังยุทธ, ฉายเดช, ฉ่ำเลี้ยง, ฉิมพลี, ชมสวน, ชมสาลี, ชโลธร, ช่องพิทักษ์, ชอบงาน, ชอุ่ม, ชัยะโสตถิ, ช่างเขียน, ช่างคำ, ช่างทอง, ชาญคำนวณ, ชามนาก, ชายทะเล, ชำนาญนา, ชำนาญยุทธ, ชำนาญเรือ, ชำนาญสถล, ชิณกิจ, ชินทเล, ชินะเตมีย, ชื่นเกษ, ชุบสรง, ชูแข, ชูชาติ, ชูนาค, ชูผล, ชูวงษ์, ชูวงษ์, เชื้อรักษ์, ไชยคุ้ม, ไชยช่วย, ไชยพันธุ์, ไชยสิทธิ์, ไชโย, ซิวะณิช, ซื่อสุด, เซี่ยมถ่อ, ฐิตะดิลก, ฐิโตปะการ, ฑีฆะ, ณ ตะกั่วทุ่ง, ณ ถลาง, ณ ระนอง, ณรงค์, ดรุณมิตร, ดวงตวัน, ดาบเขียว, ดารา, ดาวไถ, ดาวเรือง, ดำชล, ดำริห์, ดีบุก, ดีบุกกรรม, เดชครุธ, เดียระดาษ, ตงฉิน, ต้นไทร, ตราชู, ตราเต็ง, ตรุศบรรจง, ตองปรุง, ตอฑีฆะ, ต่อวงษ์, ตะเคียน, ตะเคียนทอง, ตะบองเพชร, ตัณฑโกไสย, ตัณฑจินนะ, ตัณฑซน, ตัณฑโลหะ, ตัณฑเวส, ตัณฑะวณิช, ตัณทัยย์, ตัณบุรุษ, ตันบุตร, ตันเหลียง, ตายนะศานติ, ตุงกะรัต, ตุมราศวิน, ตุลยะสุข, โตนด, ถนอมศักดิ์, โถปริก, โถยอด, ทนทเล, ทองคง, ทองคง, ทองดี, ทองตัน, ท่องทเล, ทองเนื่อง, ทองใบ, ทองเปล่ง, ทองพราว, ทองรอด, ทองรัก, ทองวาว, ทองสุก, ท่อทิพย์, ทักษิณ, ทับทอง, ทับเที่ยง, ทัพไชย, ทาคำ, ท่าเรือรักษา, ทิพบุตร, ทิพย์กล่อม, ทีร์ฆยศ, เทพพนม, เทียนไชย, เทียนยิ้ม, เทือกแก้ว, แท่งทอง, แท่นหิน, โทรพล, ไทยแท้, ไทรงาม, ธนบัตร, ธนศิริ, ธนะกูล, ธนะวัฒน์, ธนะศุข, ธนะแสง, ธรรมชาติ์, ธุระสาร, นกพริก, นราภักดี, นฤนาท, นวนจัน, นักสืบ, นากรักษา, นาคนำ, นาคสมุท, นาโค, นาชู, นาเลื่อน, นาวารักษ์, นาวินท์, นาวีกรรม, นาสาร, นาฬิกา, น้ำเฉี้ยว, น้ำเพชร์, นำศุข, นิคม, นิคม, นิจภักดี, นิมิหุต, นิยม, นิลคูหา, นิลบุตร, นุตุธีระ, เนาว์ไพร, แนบเนียน, บรรจง, บรรลือ, บั้งทอง, บัณฑุ, บัวแก้ว, บัวขาว, บัวจันทร์, บัวตูม, บัวทอง, บัวศรี, บาทเหล็ก, บำรุง, บำรุงผล, บำรุงมิตร, บินกาเซ็ม, บินตำมะงง, บินสาอาด, บินอับดุลลาห์, บุญกลั่น, บุญเกิด, บุญเกื้อ, บุญช่วย, บุญชิม, บุญชู, บุญไชย, บุญเติม, บุญแต่ง, บุญยัง, บุญยืน, บุญลิปตานนท์, บุญส่ง, บุณยพฤกษ์, บุณยพันธุ์, บุณยรัตผลิน, บุณยะผลึก, บุณยัษเฐียร, บุณะกานนท์, บุตรจรัส, บุรนันทน์, บุหงา, บุหลัน, บูชา, บูรณดิลก, บูรณะสุบรรณ, เบ็ญจรงค์, ปจิมวัน, ปถพีดล, ปธัมราช, ประจิม, ประชิต, ประชุมพรรณ์, ประณต, ประดิษฐ, ประทีป ณ ถลาง, ประพันธ์, ประพาส, ประมงกรรม, ประโมงกิจ, ปราบคด, ปราบโรค, ปรีชา, ปลอดไภย, ปสันตา, ปอดเหล็ก, ปะจันตบุตร์, ปัจจุสานนท์, ปับผาสะ, ปิตัน, ปิ่นสกุล, ปิยทัพภ์, ปีติ, ปีติ, ปีติบุตร์, ปึกแผ่น, ปุณโยดม, ปูตินันท์, เปรมศริน, เปล่งกายา, เปลื้องร้าย, เปศนันทน์, โปฎก, ผคุณสินธุ์, ผดุงวิถี, ผลผุด, ผลาวุฒิ, ผสมทรัพย์, ผานิล, พญารัง, พรมแดน, พรมโมบล, พรรคภุมรา, พรหมภักตร์, พรหมภัทร์, พรามแก้ว, พรายแสง, พริกเล็ก, พฤกกษะศรี, พลฤทธิ์, พลสิทธิ์, พลองตัน, พลอินทร์, พวงแก้ว, พวงปราง, พวงเพ็ชร, พะลัง, พะลาหค, พะลีราช, พัชรัษเฐียร, พัฒกอ, พันธ์ทิพย์, พันธ์บัว, พันธุมิตร, พาลขยาด, พาหล, พิณทิพย์, พินศรี, พิมพันธุ์, พุ่มเกษ, พูลผล, พูลสิน, เพชร์ไทย, เพชร์ปลูก, เพ็ชร์สมุท, เพ็ญชาติ, เพ็ญรัต, เพทาย, เพลิงสมุท, เพื่อนแพทย์, แพยนต์, ไพโรจน์, ฟ้าคนอง, ไฟตะเภา, ภริงคาร, ภักดีบุตร์, ภักดีวงษ์, ภาพพยนต์, ภาระษี, ภาษีเจริญ, ภาสะเตมีย์, ภิญโญ, ภูมิ์มาตร, เภตรานนท์, เภรี, โภชนา, มกรานนท์, มณฑล, มณีศรี, มหานิล, มหิมา, มโหธร, มโหสถ, มโหฬา, มะริด, มะสัง, มั่งคั่งมูนนา, มัธยม, มัธยมบุรุษ, มั่นคง, มากมูล, ม้าเขียว, มาฆะบุตร, ม้าเฉียว, มาตรา, มานะจิตร, มานุสสะ, มาลกานนท์, มีไชย, มีสัตย์, มุสิกะกุล, เมฆภัทร, เมฆย้อย, เมตตาจิตร, เมืองแมน, แม่นปืน, โมรา, ไม้แก้ว, ไม้เคี่ยม, ยกเย่า, ยงยุทธ, ยมนา, ยวงจันทร์, ยวนะปุณฑ์, ยอดคีรี, ยอดบุตร์, ยอดสาตรา, ยาดี, ยาทิพ, ยานยนตร์, ยี่สุ่น, ยุคุนธร, ยูวนะวัต, เย็นจิตร์, เยาวกุล, รตพรรค์, ระงับ, ระงับพาล, ระย้า, ระวังไพร, ระไวคาม, รักดี, รักตะจิตรการ, รักไทย, รักษ์เมือง, รักษา, รักษาคาม, รักสกุล, รักสงบ, รักสอาด, รักสัตย์, รักสำราญ, รักสุจริต, รังสิพราหมณกุล, รัชตรัตน, รัตนดิลก, รัตนภัสดุ์, รัตนภูติ, รัตนศังข์, รัถถารักษ์, ราชพล, ราญโจร, รามเวช, รามสูร, รูปิยะ, เรืองโรจน์, เรืองวณิช, เรืองศรี, เรืองแสง, ฤกษ์ถลาง, ฤกษ์เย็น, ฤทธิกล้า, ฤทธิรักษา, ลมกรด, ละออง, ลักษณะหุต, ลายคราม, ลิพอนพล, ลิ่มคำ, ลิ่มดุลย์, ลิ่มทอง, ลิมปานนท์, ลิมปิสุต, ลิ่มพานิช, ลิ่มสืบเชื้อ, ลีนานนท์, ลูกแก้ว, ลูกอิน, เลยะกุล, โลทัน, โลหกุล, โลหบุรุษ, โลหะกรรม, โลหะทัศน์, โลหะวิทย์, ฦาศุข, วงจันทร์, วงษ์สินศุข, วนะผล, วนันตร, วนารักษ์, วรรณวัฒน์, วสันตสิงห, วะนะไทร, วะนาเวศ, วัฒน์กุล, วัลยานนท์, วานิช, วายุพา, วารีสีห์, วาสภูติ, วิจิตร, วิลา, วิเศษกุล, วิเศษสม, วีณะสนธิ, วุฒิภูมิ์, วุนพาณิช, เวคะวากยานนท์, เวฬุ, เวียงไชย, ไวปัญญา, ศกุนตะฤทธิ์, ศกุนตะลักษณ, ศตะจูฑู, ศรีแก้ว, ศรีคง, ศรีคราม, ศรีทรัพย์, ศรีเมืองใหม่, ศรียาภัย, ศรีสวัสดิ์, ศรีสัจจัง, ศรีสาคูคาม, ศรีสิพรเขตร์, ศิกษมัต, ศิริปาล, ศิริพารา, ศิลไชย, ศุกรสุนทร, ศุขกิจ, ศุขเกษม, ศุขแก้ว, ศุขจิตร, ศุขะวิช, ศุโข, ศุภมาตร, ศุลการ, เศรษฐี, เศวตะดุล, โศภา, ษัฏเสน, สงคราม, สงเคราะห์, สงวนนาม, สงวนศักดิ์, สท้าน, สนองคุณ, สนั่นก้อง, สมใจ, สมบัติ์, สมบัติ, ส้มแป้น, สมรรคร่วม, สมรรถ, สมสี, ส้มโอ, สมัถทะเล, สมันตกุล, สมุทบาล, สมุทรสาร, สรงสินธุ์, สลาตัน, สวนงาม, สวนจันทน์, สวนพรหม, สวนเพ็ชร, สวนสว่าง, สวัสดิปาณี, สวัสดิรักษ์, สวัสดิสิงห์, สหาย, สอนสารา, สอนเสริม, สะนุบุตร, สังขจาย, สังขชาติ, สัจกุล, สัจจะบุตร, สัจจารัก, สัจมั่น, สัญชานนท์, สัตพัน, สันง้าว, สันโดษ, สัมฤทธิ์, สาคร, สางเมือง, สามแก้ว, สามนานนท์, สามะคี, สายระย้า, สายสมอ, สาลี, สาลี่, สำเนียง, สำเภา, สำราญ, สำลี, สิงคะเนติ, สิงบำรุง, สิงมาฬะ, สิงห์นนท์, สิงห์ไส, สิงห์หยก, สิงห์หิน, สิทธิไชย, สิทธิเดชะ, สิทธิผล, สิทธิวัจน์, สินธวานนท์, สีขริน, สีเข้ม, สีนวน, สีสมุท, สีสุก, สืบรักษ์, สืบศิลป์, สืบศุข, สืบสน, สืบสุต, สืบเสียง, สืบแสง, สุกาญจนะ, สุขชาติ, สุขุมานิสงส์, สุคนธะตามร์, สุดขยัน, สุดคุ้ม, สุดใจ, สุดหาญ, สุทธนะ, สุทธิผล, สุนทรเจริญ, สุนทรโรทก, สุนทรสิงห์, สุเมนทร, สุระชน, สุวรรณพฤกษ์, สุวรรณภัค, สุวรรณรัต, สุวัฒน์, สุวิต, สุสิมานนท์, เสมรดิษ, เสริมศุข, เสโลห์, เสวตรบุตร, เสวตร์วรรณ, เสาธง, เสี้ยนสลาย, เสียมหาญ, เสือป่า, แสงทอง, แสงม่วง, แสงรุ้ง, แสงรุ้ง, แสงศร, แสงสง่า, แสวงเวช, โสมวิภาต, หงสเกาละ, หงสประพาส, หงส์หยก, หน่อทิพ, หนูจันทร์, หนูพงษ์, หนูหอม, หนูเหล็ก, หมัดเหล็ก, หรดี, หลักแก้ว, หลักศิลา, หลักเหล็ก, หอกชัด, หอยสังข์, หัตถกรรม, หิตาทร, หุตะจูฑะ, หุตะชาติ, เหมะนาค, เหมะภูติ, เหรา, เหล็กเพชร์, โหตระกิตย์, ไหมทอง, องอาจ, อนุวณิช, อนุสัจ, อมัตกมุท, อมิตรสูญ, อยู่ยืน, อรุณ, อ่องเอี่ยม, ออมสิน, อังกินันท์, อังศุสิงห์, อัตรา, อันดรเสน, อันติมานนท์, อันทชะ, อัมระรงค์, อัยะกฤช, อัยะรักษ์, อ่างจิ๋ว, อาจอุก, อาโป, อารักข์, อารัญ, อารีชน, อำนวย, อำนวยผล, อำนาจครุธ, อำไพพันธุ์, อำภาพฤกษ์, อิ๋งชิณการ, อิฐการ, อินทร์ชู, อินทร์ไชย, อินทรปาณ, อินทรวิเชียร, อินทร์อักษร์, อินธนู, อุกกุฏานนท์, อุกฤษณ์, อุจเฉทะ, อุณหบุตต์, อุณหบุตร, อุดมทรัพย์, อุดมผล, อุดมเวช, อุทก, อุทยาน, อุมมาชาติ, อุไร, อุลิต, อู๋ถาน, เอกไชย, เอกรัตน์, เอกเสน, เอียบก๊ก, เอี่ยวสมบูรณ์, โอสถ, โอสถ, โอสถกรรม, ไอยะรา, ฮึกหาญ.

หลายนามสกุลมีสำเนาหลักฐานที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ในห้องจดหมายเหตุ"ภาพกิจปฐมเหตุ"

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
083 - 1025 - 606; 081 326 2549;
sommai@usa.com 
บันทึกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ที่มา
http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=213&Itemid=2

อติพล สุนทรสิงห์

มร. มาร์คัส เพลทเซอร์ ผู้จัดการโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ และ ปัทมา ดาราบถ โยชิมุระ ผู้จัดการฝ่ายห้องพัก ร่วมแสดงความยินดีแก่ อติพล สุนทรสิงห์ หัวหน้าแผนกคอนเซียจ เนื่องในโอกาสที่ได้รับเครื่องหมายกุญแจทอง แสดงการทำงานการอำนวยความสะดวกลูกค้าประจำโรงแรม ระดับห้าดาว แบบมารตราฐานของ Union Internationale des Concierge d’ hotel จาก สมาคมกุญแจทอง (ประเทศไทย) (The Society of the Golden Keys Thailand)

atipol

ที่มา :
http://www.newswit.com/news/2008-06-02/0312-518960627b66404c3dcc3d1136a27a47/

พันตำรวจเอก ชาติ สุนทรสิงห์

T0010_0018_01พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยในสมุด เยี่ยม แล้วเสด็จ ฯ ต่อไปยังอำเภออุ้มผาง เสด็จ ฯ ถึง สนามบินอุ้มผาง เมื่อเวลา 13.00 น. พันตำรวจเอก ชาติ สุนทรสิงห์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 6 นายละเมียล ภวศิริ เขตการทางพิษณุโลก นายอุดร ตันติสุนทร สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดตาก ร้อยตรี พูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ นายอำเภออุ้มผาง เฝ้าฯ รับ เสด็จฯ และกราบบังคมทูลรายงาน นางเฉลย เสรีบุตร ภริยาผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 6 นาง วัลลีย์ สัตยานุรักษ์ ภริยานายอำเภออุ้มผาง ทูลเกล้าฯ ถวายช่อดอไม้แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรม ราชินีนาถ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้ที่มาเฝ้า ฯ รับเสด็จ ฯ พระราชทานพรให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีกำลัง ใจปฏิบัติราชการด้วยความกล้าหาญไม่ท้อถอย แล้ว พระราชทานของแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตำรวจ และ

ที่มา : สำนักราชเลขาธิการ
http://www.ohmpps.go.th/searchsheetlist.php?get=1&get=1&quick_type=photo&offset=2280&offset=2235

Saturday, October 3, 2009

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้ว

พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของราชาธิปไตย
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามทางสืบสวนได้ความว่า บรรพบุรุษของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นพราหมณ์ ชื่อศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ในตำแหน่งราชปุโรหิต มีบุตรได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่ พระมหาราชครูพระราชปุโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ศรีบรมหงส์ องค์บุริโสดมพรหมทิชาจารย์
พระมหาราชครู มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๒ คน คือ เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) และเจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)

เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๓ คน คือ
๑. เจ้าพระยานเรนทราภัย(บุญเกิด)
๒. เจ้าพระยาสุรินทรภักดี(บุญมี)
๓. เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์(อู่)
ได้ ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช เป็นต้นสกุล "ศิริวัฒนกุล","จันทโรจวงศ์","บุรณศิริ","สุจริตกุล","ภูมิรัตน","ชัชกุล" รวม ๖ สกุล

เจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๖ คน คือ
๑. ญ.เลื่อน
๒. เจ้าพระยาพลเทพ(ทองอิน) ต้นสกุล "ทองอิน" และ"อินทรผล"
๓. กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์(มุก) ภัสดากรมหลวงนรินทรเทวี(กุ) ต้นสกุล "นรินทรกุล"
๔. ท้าวทรงกันดาร(ทองศรี)
๕. ญ.ทองเภา ไปอยู่พม่าเพราะถูกกวาดต้อนเมื่อคราวไทยเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าเป็นพระราชมารดาพระเจ้าธีบอ
๖. เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)

เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๘ คน คือ
๑. เจ้าจอมปริก ในรัชกาลที่ ๑
๒. จมื่นเด็กชายหัวหมื่นมหาดเล็ก(แตงโม) ในกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๑
๓. เจ้าจอมปรางค์ ในรัชกาลที่ ๒
๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)
๕. หลวงรามณรงค์(โต)
๖. พระยาพิชัยสงคราม(โห้)
๗. หลวงมหาใจภักดิ์(เจริญ)
๘. หลวงพิพิธ(ม่วง)
๙. คุณหญิงบุนนาคกำแหงสงคราม(ทองอิน อินทรกำแหง)

บุตร ที่ ๔ คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)นั้นเกิดแต่ท่านผู้หญิงฝัก เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๒๐ เป็นปีที่ ๑๐ ในสมัยกรุงธนบุรี ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออกซึ่งบัดนี้นับเป็นเขตจังหวัดพระนคร ตอนเชิงสะพานข้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทยทุกวันนี้

ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาอภัยราช(ปิ่น)นำนายสิงห์ บุตรชายขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศนสุนทร นายสิงห์ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความอุตสาหะพากเพียรสม่ำเสมอ ได้รับพระราชทานยศโดยลำดับจนเป็น จมื่นเสมอใจราช
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๑ แล้ว โปรดฯให้ย้ายไปรับราชการที่วังหน้า ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พระนายเสมอใจราช
ใน ระหว่างที่เป็นพระนายเสมอใจราชนี้เอง เคยต้องโทษครั้งหนึ่งเพราะต้องหาว่าพายเรือตัดหน้าฉาน ตามเรื่องมีว่า ตอนเช้าวันนั้นพนักงานได้จัดเทียบเรือพระที่นั่งและเรือกระบวนไว้พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังมิได้เสด็จลง หมอกกำลังลงจัดพระนายเสมอใจราช(สิงห์)มีธุระผ่านเรือไปทางนั้นในระยะไม่ห่าง เพราะหมอกลงคลุมขาวมัวไปหมด ในที่สุดก็ถูกจับไปลงพระราชอาญาจำอยู่ที่ทิมในพระราชวังหลวง แต่อาศัยพระอนุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ได้ทรงพระกรุณาช่วยให้พ้นโทษโดยเร็ว
เมื่อพระนายเสมอใจราช(สิงห์)พ้น โทษแล้ว ได้รับราชการในตำแหน่งเดิมอีก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรศักดิ์เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวร
พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)เป็นผู้มีนิสัย ขะมักเขม้นทั้งในทางราชการ และในการทางบ้าน เมื่อว่างจากราชก็ดำริการค้าขาย พยายามต่อสำเภาแต่งออกไปค้าขายยังเมืองจีน สิ่งที่ขายได้ผลดีมากคือเศษเหล็ก จัดหาซื้อส่งไปขายเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งต่อสำเภาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอู่ตะเภา ก็คือที่บริเวณวัดตึกทุกวันนี้ การค้าขายได้กำไรดี ทางราชการก็เจริญดีเรื่อยมาจนต้องโทษเป็นครั้งที่ ๒
ราชการสำคัญของ พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)ที่ต้องปฏิบัติในระหว่างนี้ก้คือการนา ได้ออกไปควบคุมการทำนาหลวงอยู่เนื่องๆ ในที่สุดต้องหาว่าไปตั้งค่ายคูอย่างทำศึก และประกอบกับการที่ค้าขายเศษเหล็กเป็นส่วนตัวอยู่ด้วย น่าระแวงว่าจะสะสมเหล็กทำอาวุธบ้างกระมัง จึงถูกนำตัวมาจำไว้ในพระบรมมหาราชวัง แต่ก็ได้อาศัยพระบารมีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเป็นครั้งที่ ๒ เหมือนกัน ซึ่งเวลานั้นยังเป็นรัชกาลที่ ๒ พระองค์อยู่ในฐานะเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ และทรงบัญชาราชการสำคัญหลายอย่าง ทรงอนุเคราะห์พระยาเกษตรรักษา(สิงห์) แม้จะต้องโทษถูกจำอยู่ก็ผ่อนหนักเป็นเบาตลอดมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์แล้ว ทรงพระกรุณาให้พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)พ้นโทษ และต่อมาโปรดฯให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดี ตั้งแต่นั้นมาชีวิตของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นใน กิจการสำคัญของชาติ จนปรากฏเกียรติคุณประจักษ์อยู่ในพระราชพงศาวดารเป็นต้น
ถึง พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๓ พระเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทร์คิดการกบฎยกกองทัพจู่โจมเข้ามายึดนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกขึ้นไปทางสระบุรี แล้วโปรดฯให้กองทัพยกไปทางเมืองปราจีนบุรี เพื่อรุกเข้าทางช่องเรือแตกอีก ๔ ทัพ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เป็นแม่ทัพหน้า
พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เดิน ทัพถึงเมืองสุวรรณภูมิพบกองทัพเจ้าโถง นัดดาพระเจ้าอนุวงศ์ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมเมืองพิมายก็ยกเข้าตีถึงตะลุมบอน ทัพเจ้าโถงรับไมหยุดก็แตกกระจายไปสิ้น เมื่อได้ชัยชนะแล้วพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพไปตั้งอยู่เมือง ขอนแก่น แล้วยกไปตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตกอีก จึงหยุดพักพลอยู่ ณ เมืองยโสธร เพื่อสะสมกำลังสำหรับยกไปปราบนครจำปาศักดิ์ต่อไป ฝ่ายเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งค่ายอยู่เมืองศรีสะเกษ ได้ทราบข่าวว่าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จะยกกองทัพตัดตรงไปนครจำปาศักดิ์ ก็รีบยกมาตั้งรับที่เมืองอุบลราชธานี และให้เจ้าปานและเจ้าสุวรรณอนุชาทั้งสอง ยกทัพมาตั้งยันทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่ที่แดนเมืองยโสธร พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพออกตีทัพเจ้าปานและเจ้าสุวรรณแตก แล้วตามตีทัพเจ้าราชบุตร ณ เมืองอุบลราชธานี ฝ่ายไทยชาวเมืองอุบลราชธานีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเจ้าราชบุตร เมื่อทราบว่ากองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปถึง ก็พร้อมกันก่อการกำเริบฆ่าฟันพวกเจ้าราชบุตรล้มตายเป็นอลม่านขึ้นในค่าย กองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ตีโอบเข้ามา เจ้าราชบุตรเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็พาพรรคพวกหนีไปนครจำปาศักดิ์ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)รีบยกกองทัพติดตามไปไม่ลดละ
ฝ่ายครัวเมือง ต่างๆทางเจ้าราชบุตรกวาดไปรวมไว้ในนครจำปาศักดิ์ทราบขจ่าวว่ากองทัพเจ้า ราชบุตรเสียที จึงพร้อมกันก่อการกำเริเบเอาไฟจุดเผาบ้านเรือนในนครจำปาศักดิ์ไหม้ขึ้นเป็น อันมาก เจ้าราชบุตรเห็นดังนั้นจะเข้าเมืองมิได้ก็รีบหนีข้ามฟากแม่น้ำโขงไปทางตะวัน ออก พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ยกกองทัพเข้าไปตั้งมั่นในนครจำปาศกดิ์ และให้กองตระเวนออกสืบจับพวกเจ้าราชบุตร ได้ตัวเจ้าราชบุตร เจ้าปาน เจ้าสุวรรณ มาจำไว้ แล้วเดินทัพมาตั้งอยู่เมืองนครพนม พอทราบข่าวว่าทัพหลวงกรมพระราชวังบวร จะเสด็จกลับกรุงเทพฯจึงรีบเดินทางมาเฝ้ากราบทูลชี้แจงข้อราชการ กรมพระราชวังบวรก็โปรดฯให้พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่จัดการบ้านเมืองทางภาค อีสานจนกว่าจะสงบเรียบร้อย
ครั้นกรมพระราชวังบวรเสด็จกลับถึง กรุงเทพฯก็กราบทูลความดีความชอบของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ที่เข้มแข็งในการ สงคราม สามารถปราบปรามกบฎให้พ่ายแพ้ลงได้โดยเร็ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้มีตราขึ้นไปเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายก ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เวลานั้นอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๑
เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) จัดการบ้านเมืองตามท้องถิ่นให้สงบลงตามสมควรแล้ว ให้เพี้ยเมืองจันทน์อยู่รักษานครเวียงจันทน์พร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการ จึงพาเจ้าอุปราชลงมาเฝ้าทูลละอองฯ ณ กรุงเทพฯในปลายปีนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบางให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์)ผู้ว่าที่สมุหนายกเชิญไปสร้างพระวิหารประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส
รุ่งขึ้นปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ โปรดฯให้เจ้าพำระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ผู้ว่าที่สมุหนายก ยกกองทัพไปนครเวียงจันทน์อีก
เมื่อ ไปถึงหนองบัวลำภู เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็แต่งให้พระยาราชรองเมือง พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์เมืองนครราชสีมา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้เปลี่ยนราชทินนามนี้เป็น"บรรเทาทุกขราษฎร์ " เมื่อปีฉลูเบญจศก--กัมม์) หลวงสุเรนทรวิชิต เป็นกองหน้าคุมทหาร ๕๐๐ คน ยกล่วงหน้าขึ้นไปตั้งอยู่พันพร้าวก่อน ครั้นกองหน้าไปถึงพันพร้าว ได้ทราบข่าวเพี้ยกรมการที่ให้อยู่รักษานครเวียงจันทน์ มีกิริยาอาการผิดปกติอยู่บ้าง พระยาราชรองเมืองไม่ไว้ใจแก่เหตุการณ์จึงจัดให้พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุเรนทรวิชิต แบ่งกำลัง ๓๐๐ คน ยกข้ามไปตั้งฟังราชการอยู่ที่นครเวียงจ้นทน์
ฝ่ายพระเจ้าอนุวงศ์หนี ไปพึ่งญวน ญวนอุดหนุนและนำมาส่งยังนครเวียงจันทน์ พร้อมทั้งมีกำลังในอาณาเขตเวียงจันทน์ประมาณ ๑,๐๐๐ คน พวกญวนราว ๘๐ คนเศษ พระเจ้าอนุวงศ์ทำเป็นทียอมสารภาพรับผิดแสดงไมตรีจิตกับนายทัพนายกองไทยเป็น อย่างดี จนนายทัพนายกองไทยหลงเชื่อว่าพระเจ้าอนุวงศ์จะไม่เป็นปรปักษ์อีก พอรุ่งขึ้นเพลาบ่าย ๔ โมง พระเจ้าอนุวงศ์ก็ยกพวกเข้าล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุเรนทรวิชิต ซึ่งตายใจมิได้ระวังคุมเชิงไว้ พลทหารอยู่บ้างไม่อยู่บ้าง ในที่สุดก็แตกเสียทีแก่พระเจ้าอนุวงศ์ทั้งนายทั้งพลถูกฆ่าตายเกือบหมด ที่พยายามหนีลงน้ำจะว่ายข้ามฟากมา ก็ถูกพวกเจ้าอนุวงศ์ลงเรือตามฆ่าฟันย่อยยับ ได้เหลือรอดตายว่ายน้ำหนีมาได้คือ หมื่นรักษานาเวศกับพลทหารเพียง ๔๐ เศษ
เจ้า พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ได้ทราบว่าพวกญวนพาพระเจ้าอนุวงศ์กลับมานคร เวียงจันทน์ ก็รีบเดินทัพไปพอถึงค่ายพันพร้าวบ่าย ๓ โมง ก่อนหน้าที่พระเจ้าอนุวงศ์จะลงมือล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงครามเพียงชั่วโมง เดียว เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เห็นชาวเวียงจันทน์กลุ้มรุมฆ่าฟันที่หาดทรายหน้า เมืองก็เข้าใจว่ากองพระยาพิชัยสงครามคงเป็นอันตราย เป็นเวลาจวนตัวจะรีบยกกองทัพข้ามไปช่วย เรือก็ไม่มี ทั้งกำลังคนก็ยังน้อย พอเวลาค่ำหมื่นรักษาเทเวศมารายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนเเย็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จะตั้งรับอยู่ที่ค่ายพันพร้าวทหารก็น้อยตัว จะถอนมานครราชสีมาก็ไกลนัก พระยาเชียงสาเรียนว่า เมืองยโสธรผู้คนข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ รับอาสาจะนำเดินทางลัดก็ตกลงออกเดินทางจากค่ายพันพร้าวในคืนวันนั้น มุ่งตรงไปยังเมืองยโสธรทันที
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ เมื่อสังหารกองพระยาพิชัยสงครามวอดวายแล้ว ทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปตั้งอยู่ค่ายพันพร้าว ก็จัดให้เจ้าราชวงศ์รีบยกกองทัพข้ามฟากมาล้อมจับเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ครั้นเจ้าราชวงศ์ยกมาและทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปเมืองยโสธร เสียแล้ว เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ก้เร่งกองทัพออกตามไปโดยเร็ว
วัน รุ่งขึ้นเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ได้ทราบว่าเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพ ตามมา จึงรีบจัดกองทัพยกไปต่อสู้ กองทัพทั้งสองปะทะกันที่บกหวาน ต่างบุกบั่นสู้รบถึงตะลุมบอน บังเอิญม้าของเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เหยียบคันนาแพลงล้มลงทับขาเจ้า พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ทันใดนั้นพอดีเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ขับม้าสะอึกเข้าไปถึง จึงเอาหอกแทงปักตรงกลางตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)รู้ท่วงทีอยู่ก่อนแล้วจึงเบ่งพุ่งลวงตาเจ้า ราชวงศ์เวียงจันทน์เมื่อหอกพุ่งปร๊าดลงไป เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)แขม่วท้องแล้วเอี้ยวหลบปลายหอกแทงเฉี่ยวข้าง เสียดผิวท้องถูกผ้าทะลุ หอกก็ปักตรึงอยู่กับดิน เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์จะดึงหอกขึ้นแทงซ้ำ แต่เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จับคันหอกยึดไว้ แล้วพยายามชักมีดหมอประจำตัวจะแทงสวนขึ้นไป เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ดึงหอกไม่ได้สมประสงค์จึงชักดาบที่คอม้าออก เงื้อจะจ้วงฟันเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ฝ่ายหลวงพิพิธ(ม่วง)น้องชายเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เห็นดังนั้น จึงกระโจนเข้ารับดาบเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ เสียทีถูกเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ฟันขาดใจตายทันที ขณะที่เจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์กำลังจ้วงฟันอยู่นั้น เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ชักมีดหมอออกทัน และได้ทีก็แทงสวนขึ้นไปถูกโคนขาเจ้าราชวงศืเวียงจันทน์ เป็นแผลลึกและตัวเจ้าราชวงศืเวียงจันทน์ก็ผงะตกจากหลังม้าเลือดสาดแดงฉาน พวกมหาดเล็กเข้าใจว่านายตาย รีบช่วยกันประคองเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์จัดการหามหนีไปโดยเร็ว
ฝ่าย เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ให้จัดการบาดแผลเรียบร้อยเเล้ว เร่งทหารให้รีบตามกองทัพเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ไปทันที ตามไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขงก็ไม่ทัน จึงเดินทางไปตั้งพักอยู่ที่พันพร้าว
การ ที่เจ้าราชวงศ์ต้องถอยหนีคราวนั้น เป็นผลให้ชาวเวียงจันทน์เข็ดขยาดกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เป็นอัน มาก แม้จนพระเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่คิดต่อสู้อีก พระเจ้าอนุวงศ์รีบจัดแจงพากันหนีไปจากนครเวียงจันทน์ในวันรุ่งขึ้น
กอง ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เดินไปถึงเมืองพันพร้าวภายหลังเมื่อพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปแล้ววันหนึ่ง จึงแบ่งกำลังยกไปตามจับโดยเร็วที่สุด จับได้เจ้านายบุตรหลานพระเจ้าอนุวงศ์มาหลานองค์ ทราบว่าพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปทางเมืองพวน ก็เร่งให้กองทหารรีบตามไปจับให้ได้ ถึงเดือนธันวาคม เมืองพวนช่วยกับเมืองหลวงพระบางพยายามตามจับพระเจ้าอนุวงศ์ส่งมาให้ จับได้ที่น้ำไฮเชิงเขาไก่แขวงเมืองพวน เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่จัดราชการจนเรียบร้อยตลอด เห็นว่าเป็นที่วางใจก็กลับลงมาเฝ้ากราบทูลข้อราชการใน พ.ศ. ๒๓๗๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาสถาปนา เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ขึ้นเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เวลานั้นท่านอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๓
เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)สมุห นายก รับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่ในพระนครเพียง ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๗๕ ก็โปรดฯให้ออกไปราชการที่เมืองพัตบอง รุ่งขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ ไทยจำเป็นต้องรบกับญวน(ดังปรากฏเหตุการณ์ตามที่กรมศิลปากร ทำบันทึกประจำปีลงไว้ให้ทราบ มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุต่อไปนี้) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)สมุหนายกเป็นแม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ ยกไปรบกับญวนขับเคี่ยวกันมาตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖
ในระหว่างที่ ไปบัญชาการรบอยู่ ณ เมืองพัตบอง พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง ศรีเพ็ญ)แต่งให้หมื่นจงอักษร คุมเอาของกิน ๕๐ ชะลอมส่งไปให้ เป็นการแสดงไมตรีจิตตามฉันผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)นอกจากจะตอบขอบใจตามธรรมเนียมแล้ว ยังแสดงความรู้สึกอันจริงใจให้พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง ศรีเพ็ญ)ทราบอีกว่า การของกินนั้นอย่าให้ส่งเสียเป็นธุระอีกเลย ถึงจะบรรทุกเกวียนไปเท่าใดก็หาพอไม่ ด้วยนายทัพนายกองมากต้องเจือจานไปทุกแห่ง เป็นนิสัยไปราชการทัพก็ต้องอดอยากเป็นธรรมดา ให้พระยาศรีสหเทพตั้งใจแต่ที่จะตรงราชการ กับให้บอกกระแสพระราชดำริออกไปให้รู้เนืองๆจะได้ฉลองพระเดชพระคุณให้ถูกกับ พระราชดำริ
บางปีเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)ได้กลับเข้ามาเฝ้ากราบ ทูลข้อราชการด้วยตนเองบ้าง และในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกไปบัญชาการทัพที่เมืองพัตบอง บางคราวต้องไปทำการสำรวจกำลังพลตามท้องถิ่น เช่นทางภาคอีสานจะได้ทราบจำนวนที่ใกล้ความจริง เป็นประโยชน์ในราชการต่อไป
เจ้า พระบดินทรเดชา(สิงห์)ต้องไปตรากตรำในการสู้รบกับญวน เพื่อป้องกันเขมรมิให้ถูกญวนกลืนเสียตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ จนถึงปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๑ ในที่สุดญวนขอผูกไมตรีอย่างเดิม ฝ่ายไทยเห็นว่าได้ช่วยเขมรให้กลับมีราชวงศ์ปกครอง และมีอำนาจในการรักษาประเทศเขมรอย่างแต่ก่อน ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาญวนอยู่ในลักษณะเป็นเมืองขึ้นของไทย ฟังพระราชกำหนดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร เป็นแต่ถึงกำหนด ๓ ปีนำบรรณาการไปออกแก่ญวนครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำแนะนำของเจ้าพระยาบดิน ทรเดชา(สิงห์)
จึงโปรดฯให้รับเป็นไมตรีกับญวน และให้มีตราไปถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ปรารภข้อราชการตามสมควร แล้วแจ้งความรู้สึกส่วนพระองค์ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาทราบว่า ทรงพระราชดำริราชการเมืองเขมร เข้าพระทัยว่าทำนองญวนก็จะเหมือนกันกับทำนองแต่ก่อน ที่ไหนจะให้มา กลับมาสมคิดสมหมายง่ายๆ พระราชดำริผิดไปแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)คิดราชการถูก อุตส่าห์พากเพียรจนสำเร็จได้ตามความปรารถนา "ออกไปลำบากตรากตรำ คิดราชการจะเอาเมืองเขมรคืนตั้งแต่ปีมะเส็งเบญจศก ช้านานถึง ๑๕ ปี อุปมาเหมือนหนึ่งว่ายน้ำอยู่กลางพระมหาสมุทร ไม่เห็นเกาะไม่เห็นฝั่ง พึ่งมาได้ขอนไม้น้อยลอยมา ได้เกาะเป็นที่ยึดที่หน่วงว่ายเข้าหาฝั่ง" (ดูตราฉบับลงวันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๐๙)
เมื่อ ได้จัดการพิธีราชาภิเษกพระองค์ด้วง เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ตามพระราชโองการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์)ก้เดินทางกับมาประเทศสยาม ณ วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ ในระหว่างนั้นเกิดจีนตั้วเหี่ยก่อการกำเริบขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)จึงแวะช่วยทำราชการปราบปรามจนสงบ แล้วเข้ามาเฝ้าทูลละอองฯ ณ กรุงเทพฯ
ความอ่อนแอซึ่งมีมาแต่ก่อนจนถึง สมัยนั้น ได้ทำความหนักใจให้แก่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)เป็นอันมาก จนท่านต้องใช้ความเฉียบขาดเป็นหลักในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือทำการปราบปรามกบฎพระเจ้าอนุวงศ์นครเวียงจันทน์ และช่วยป้องกันเขมรจากญวน สำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังน่าเสียใจอยู่บ้างว่า ท่านต้องใช้เวลานานเกินสมควร และขาดผลสำคัญที่น่าจะได้ยิ่งกว่าที่ได้แล้วอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนแอของนายทัพนายกองเป็นเหตุให้ต้องยืดเวลาเยิ่น เย้อออกไป และตัดทอนความไพบูลย์ของผลสำเร็จลงเสียไม่น้อยนั่นเอง เนื่องจากลักษณะที่กล่าวมาในลักษณะตรงกันข้าม เป็นอันพิสูจน์ให้เห็นความมั่นคงของบ้านเมืองได้ประการหนึ่งว่า สยามจะยั่งยืนในเอกราชได้ก็ต้องกำจัดมูลรากของความอ่อนแอให้หมดไปเสีย
นอก จากจะทำประโยชน์อันใหญ่ยิ่งแก่บ้าเมืองแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห)ยังได้พยายามทะนุบำรุงการพระศาสนา เช่นบูรณะปฎิสังขรณ์หรือสร้างวัด แม้ในระหว่างไปราชการทัพก็ยังเป็นห่วงถึง บางคราวได้ขอร้องให้พระยาศรีสหเทพ(เพ็ง เพ็ญศรี)ช่วยเป็นธุระให้บ้าง
รวมวัดที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ปฎิสังขรและสร้างใหม่ คือ
๑. ปฏิสังขรวัดจักรวรรดิราชาวาส(เดิมเรียกวัดสามปลื้ม) และสร้างพระปรางค์กับวิหารพระบางที่เชิญมาจากนครเวียงจันทร์(พระบางนั้นเดิม อยู่ที่นครเวียงจันทร์ ครั้งกรุงธนบุรีทำสงครามกับนครเวียงจันทร์มีชัยชนะ จึงเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้มีการสมโภชพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นั้นพร้อมกับฉลองชัยชนะของบ้านเมือง เป็นงานมโหฬารยิ่ง เมื่อวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๒ ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระเจ้านันทเสน นครเวียงจันทร์ ขอพระราชทานพระบางกลับคืนไปนครเวียงจันทร์ ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จการปราบกบฏพระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์แล้ว จึงเชิญพระบางกลับลงมาอีก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ )สร้างวิหารประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานกลับไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง แล้วโปรดให้เชิญพระนาคจากหอพระในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานไว้ในวิหารนั้นแทนพระบาง วัดจักรวรรดิราชาวาสสืบมาจนทุกวันนี้)
๒. ปฎิสังขรณ์วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดพระนครในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามใหม่ว่าวัดปรินายก และทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา
๓. ปฏิสังขรณ์วัดช่างทอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านผู้หญิงฝักผู้เป็นมารดาได้สร้างไว้ อยู่ที่เกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔. ปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรร(เขาดิน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕. สร้างวัดเทพลีลา ในคลองบางกะปิ ชาวบ้านเรียกว่าวัดตึกบ้าง วัดตึกคลองตันบ้าง ได้ยินว่าวัดนี้สร้างในระหว่างไปทำสงครามขับเคี่ยวกับญวน เมื่อต้องขุดคลองบางกะปิและทำนาไปตลอดทางเพื่อสะสมเสบียงกองทัพ และเพื่อความบริบูรณ์ของบ้านเมืองในเวลาต่อมาด้วย จึงถือโอกาสให้ทหารในกองทัพได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นที่ยัดหน่วงในการทำศึก และปลูกกำลังใจในการต่อสู้เพื่อรักษาพระศาสนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นอีก
๖. ยกที่บ้านถวายเป็นวัด แล้วสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสนาสนะพร้อม มีชื่อว่าวัดไชยชนะสงครามแต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าวัดตึกจนทุกวันนี้ อยู่ตรงข้ามกับเวิ้งนครเขษมใกล้สี่แยกวัดตึก จังหวัดพระนคร
นอกจาก นี้ยังสร้างวัดที่เมืองพัตบอง และเมืองอุดงมีชัยเป็นต้น อีกทั้งได้ช่วยทะนุบำรุงการพระศาสนาในประเทศเขมร ได้สืบต่อศาสนวงศ์มาจนสมัยปัจจุบันนี้
ปีที่กลับจากประเทศเขมรนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)มีอายุย่างขึ้น ๗๒ ปี แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อมา ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๒ ก็ถึงอสัญกรรมด้วยโรคปัจจุบัน(อหิวาตกโรคซึ่งบังเกิดชุกชุมในปีนั้น) รุ่งขึ้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ พระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ที่เมรุผ้าขาว ณ วัด สระเกศ(แต่ในพงศาวดารว่าเป็นวันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม)
รูป หล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ซึ่งมีอยู่ในเก๋งจีนข้างพระปรางค์วัด จักรวรรดิราชาวาส(วัดสามปลื้ม)นั้น พระพุฒาจารย์(มา)ไปถ่ายมาจามเมืองเขมรอีกต่อหนึ่งแล้วจัดการหล่อขึ้น มีเรื่องเล่ากันมาว่า
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ เมื่อองหริรักษ์(นักองด้วง)พระเจ้ากรุงกัมพูชาได้ทราบว่า เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)ถึงอสัญกรรมแล้ว องหริรักษ์ระลึกถึงบุญคุณที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ ใกล้วัดโพธารามในเมืองอุดงมีชัย(เมืองหลวงเก่าเมืองเขมร)แล้วให้พระภิกษุสุก ชาวเขมรช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น ปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง ชาวเขมรเรียกว่า"รูปองบดินทร"ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๒
การถ่ายอย่างรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชามาหล่อไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาสนี้ เนื่องด้วยพระพุฒาจารย์(มา)เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพยมุนี ระลึกถึงอุปการคุณที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้ความเจริญ เรียบร้อยแก่วัดจักรวรรดราชาวาสมาโดยเอนกประการ นับว่าเป็นอนุสาวรีย์สำคัญที่วัดจักรวรรดิราชาวาสระลึกถึงคุณความดีของเจ้า พระยาบดินทรเดชา(สิงห์)ซึ่งมีต่อบ้านเมืองและพระศาสนา แล้วร่วมใจกันสร้างขึ้นไว้เป็นทำนองปฏิการคุณโดยปริยาย ซึ่งขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาถึงอสัญกรรมพระพุฒาจารย์ยังเป๋นสามเณรอยู่ที่ วัดจักรวรรดิราชาวาสนี้ ทันได้เห็นกิจการบูรณะของท่านด้วยดีทุกอย่าง จึงได้ให้คนไปวาดเขียนถ่ายอย่างรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองเขมรมา ให้นายเล็กช่างหล่อจัดการหล่อขึ้น ขณะที่ปั้นหุ่นรูปได้อาศัยช่างเขียน และท่านทองภรรยาเจ้าพระยายมราช(แก้ว)ซึ่งมีอายุทันได้เห็นเจ้าพระยาบดินทรเด ชา ช่วยกันติชมแก้ไขเห็นว่าเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชาแล้ว จึงได้จัดการหล่อขึ้น ประจวบกับพระพุฒาจารย์มีอายุครบ ๕ รอบ( ๖๐ ปี)จึงได้ร่วมทำพิธีฉลองอายุในคราวเดียวกัน รูปนี้ หล่อขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๑ กับ พ.ศ. ๒๔๔๗
เหตุประจวบอีกอย่างก็คือขุนวิจิตรจักราวาส (คำ)ไวยาวัจกร วัดจักรวรรดิราชาวาส ขออนุญาตพระพุฒาจารย์สร้างเกซิ้นนามเจ้าพระยาบดินทรเดชาไว้เป็นที่ระลึก สักการะด้วยอักษรจีน อ่านได้ความว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) สลักลงในแผ่นหินอ่อน และสร้างเก๋งจีนข้างพระปรางค์ใหญ่ด้านตะวันออกซึ่งเดิมเคยเป็นที่วางดอกไม้ ธูปเทียนบูชาพระปรางค์ ฝังศิลาจารึกเกซิ้นไว้กับผนังด้านหลังภายในเก๋ง แล้วเลยประดิษฐานรูปหล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชารวมไว้ในเก๋งนั้นด้วยทีเดียว เป็นที่ระลึกสักการะของผู้เคารพนับถือตลอดมาจนทุกวันนี้

ที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&group=1&date=19-03-2007&gblog=10

พระนมปริก กัลยาณมิตร

(ธิดาพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร)

180px-พระนมปริก (พ.ศ. 2373 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2454) เป็นพระนมเอก ผู้ถวายพระนมและการอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชชนนีทุกพระองค์

พระนมปริกเกิดที่บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ของตระกูลกัลยาณมิตร ใกล้วัดอรุณราชวรารามกับกุฏีเจ้าเซน เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล โทศก จุลศักราช 1192 ตรงกับ พ.ศ. 2373 เป็นธิดาคนเล็กในจำนวน 18 คนของ พระยาอิศรานุภาพ (ขุนเณรน้อย) เกิดแต่คุณขำ ภรรยาคนที่ 10 ได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังตั้งแต่อายุ 2 ปี ไปอาศัยอยู่กับ เจ้าจอมพึ่ง เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพี่สาวคนโต

เมื่ออายุได้ 20 ปี พระนมปริกได้แต่งงานกับ นายเสถียรรักษา (เที่ยง) ปลัดวังซ้าย คหบดีเชื้อสายรามัญ ให้กำเนิดธิดาคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2396 ใกล้เคียงกับเวลาที่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี่ ทรงมีพระประสูติกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาอิศรานุภาพผู้เป็นบิดา ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ได้ถวายตัวพระนมปริกให้เป็นพระนมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2398 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ในปี พ.ศ. 2399 และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ในปี พ.ศ. 2402 เป็นเวลาใกล้เคียงกับที่เจ้าจอมปริกให้กำเนิดบุตรและธิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าจอมปริกเป็นผู้ถวายพระนม และการอภิบาลแก่ทุกพระองค์

พระนมปริกมีบุตรธิดากับนายเสถียรรักษา (เที่ยง) ทั้งสิ้น 9 คน คนโตชื่อ เขียน เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังไม่ทรงครองราชย์ ต่อมาได้กราบบังคมทูลลาไปบวชเป็นชีจนถึงแก่กรรม ธิดาคนที่สามชื่อ วาด ได้ถวายตัวรับใช้ทูลกระหม่อมแก้ว (หรือ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร) ต่อมาได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอม เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ให้ประสูติพระราชโอรส คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

พระนมปริกถึงแก่อนิจกรรมที่วังพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เมื่อวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2454 อายุ 84 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชินิกุล เสมอพระศพหม่อมเจ้า และพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดที่วัดเทพศิรินทราวาส

อ้างอิง

  • เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์ -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. (ISBN 974-9687-35-3)
  • องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก -- กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. (ISBN 978-974-02-0059-8)

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81".

หมวดหมู่: บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2373 | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2454 | สกุลกัลยาณมิตร | ชาวไทยเชื้อสายมอญ

ที่มา
http://th.straightworldbank.com/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81

ชิต สิงหเสนี

ชิต สิงหเสนี เป็นบุตรพระตำรวจเอก พลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กในตอนต้นรัชกาลที่ 7 ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ มหาดเล็กห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรวมในเหตุการณ์การสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้นายชิตได้รับโทษประหารชีวิต และถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวางเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 พร้อมกับนายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งตกเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกัน

จากพยานหลักฐานรวมทั้งการวิเคราะห์รูปคดีในภายหลัง เป็นที่เชื่อได้ว่านายชิตน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีดังกล่าว

300px-Three_prisoner_of_Rama_VIIIs_case[4]

สามจำเลยผู้ถูกประหารชีวิตในกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 (จากซ้าย) นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5

สุนทรสิงห์ - ลำดับความสัมพันธ์และที่มา

สุนทรสิงห์ Sundarasinha

ต้นตระกูล “สุนทรสิงห์” 
นายพันตำรวจตรี หลวงเริงระงับภัย (คิด) ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็จ พ่อชื่อ ??? (ไม่พบข้อมูล) ปู่ชื่อพระพรหมสุรินทร (งาม) หรือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนา) เกิดเมื่อ 11 มกราคม 2318 ทวดชื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (สิงโต)

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

เลขเสร็จ 242/2532

เรื่อง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

บันทึก

เรื่อง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล

-------

เนื้อหา

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/3325

ลงวันที่ 27 เมษายน 2532 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งจากสำนักราชเลขาธิการว่า นายรัตนาวุธ

วัชโรทัย พนักงานโท ระดับ 5 สำนักพระราชวัง บุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ

วัชโรทัย ได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสืบตระกูลพระยา

อนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบแล้วพบว่า นายรัตนาวุธ

วัชโรทัย เป็นบุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย ซึ่งเป็นบุตรชายใหญ่ของพระยา

อนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2514 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 4

พฤศจิกายน 2518 เมื่อพิจารณาการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมาตรา 9*(1)

----------------------------------------------------------------

*(1) พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484

มาตรา 9 ให้มีการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ดั่งต่อไปนี้

1. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า

วิเศษ บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมี

ชีวิตอยู่ และการสืบตระกูลตามข้อนี้ให้มีตลอดไปจนกว่าจะหาตัวผู้สืบสายโลหิตที่เป็น

ชายไม่ได้

2. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า

บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมีชีวิตอยู่

แต่การสืบตระกูลตามข้อนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงนี้

3. เมื่อบิดาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษหรือทุติยจุลจอมเกล้า บุตรชายจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบ

ตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว การสืบตระกูลตามข้อนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงนี้

[มีต่อหน้าถัดไป]

วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามพ.ศ.2484 ที่บัญญัติความ

สรุปได้ว่า เมื่อบิดาซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษหรือทุติยจุลจอมเกล้าล่วงลับไป บุตรชายใหญ่ของจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ขณะนั้น

ซึ่งบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ในตระกูลรับรองยกย่องมีความประพฤติและหลักฐานดี

สมควรจะรักษาเกียรติแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะเป็นผู้ได้รับพระราชทาน

เว้นแต่บุตรชายที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสียก่อนได้รับพระราชทาน

ก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายนั้น ในกรณีนี้ ผู้ที่จะได้รับ

พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลคือนายแก้วขวัญ วัชโรทัย ซึ่งเป็น

บุตรชายใหญ่ของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรยังมีชีวิตอยู่ ขณะนี้ดำรงตำแหน่ง

-----------------------------------------------------------

[ต่อจากเชิงอรรถที่ (1)]

การสืบตระกูลดั่งเช่นว่ามาทั้งหมดนี้ บุตรชายใหญ่ของจำนวนบุตร

ที่มีชีวิตอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้จะได้รับพระราชทาน แต่ต้องเป็นบุตรซึ่งบิดามารดา

หรือญาติผู้ใหญ่ในตระกูลรับรองยกย่อง ประกอบกับมีความประพฤติและหลักฐานดี

สมควรที่จะรักษาเกียรติแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ หากบุตรชายใหญ่นั้น

ไม่สมควรจะได้รับพระราชทาน บิดาจะขอพระราชทานให้บุตรชายรองลงไปตาม

ลำดับก็ได้ เมื่อทรงพระราชดำริเห็นสมควรจะได้พระราชทานเป็นพิเศษ การสืบ

ตระกูลโดยพระราชทานเป็นพิเศษเช่นนี้เป็นอันสิ้นสุดแต่เพียงผู้ได้รับพระราชทาน

นั้นเท่านั้น

เมื่อบุตรชายที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสียก่อนได้รับ

พระราชทานก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายนั้น โดยพิจารณาตาม

หลักเกณฑ์ดั่งกล่าวมาในวรรคก่อน ถ้าไม่มีหลานดั่งกล่าวแล้ว จะได้พระราชทาน

แก่บุตรชายคนถัดไป ถ้าบุตรชายคนถัดไปวิกลจริตหรือตายก็จะได้พระราชทานแก่

หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนถัดไปนั้น โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกัน

ถ้าไม่มีหลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนถัดไปนั้น ให้ได้แก่บุตรชายคนใดคนหนึ่ง

ที่สมควร

เลขาธิการพระราชวัง ดังนั้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ซึ่งเป็นหลานจึงไม่อยู่

ในหลักเกณฑ์ขอพระราชทานตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม

เพื่อจะได้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงขอหารือว่า

ความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวถูกต้องตามพระราชบัญญัติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ.2484 หรือไม่ประการใด

คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 5)

ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว โดยได้ฟังคำชี้แจงของผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี(สำนัก

เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)แล้ว เห็นว่า

ตามมาตรา 9 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พุทธศักราช 2484 หลานจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลปู่

ต่อเมื่อบิดาของตนซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานวิกลจริตหรือตายเสีย

ก่อนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูล กรณีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า

พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

วิเศษ เมื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2518

ผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบตระกูลตาม

มาตรา 9 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พุทธศักราช 2484 คือนายแก้วขวัญ วัชโรทัย บุตรชายใหญ่ของพระยาอนุรักษ์

ราชมณเฑียร ซึ่งยังมีชีวิต และรับราชการอยู่ ดังนั้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย

บุตรชายใหญ่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย และเป็นหลานของพระยาอนุรักษ์ราช

มณเฑียรจึงเป็นผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

สืบตระกูลพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์

จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484

(ลงชื่อ) อมร จันทรสมบูรณ์

(นายอมร จันทรสมบูรณ์)

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

พฤษภาคม 2532.

.

ไพบูลย์ - คัด/ทาน

ที่มา :
http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/deca/2532/c2_0242_2532.htm

แม่ (พัว)

โดย แก้วขวัญ วัชโรทัย

แม่เป็นคนดัง

ldpoor10          แม่ดังมาตั้งแต่เด็ก  เพราะอ่านประวัติของแม่ที่แม่เขียนเองแล้วก็ย่อมทราบดี  ไม่ว่าจะไปจังหวัดใด แม้ในต่างประเทศ พอเอ่ยถึงคุณหญิงพัว  อาจารย์พัว หรือคุณพัว มีผู้รู้จักไปหมด  ผมเป็นลูกจึงรู้สึกภูมิใจเป็นหนักหนา  และคงจะมีหลายท่านที่อยากจะทราบว่าแม่มีวิธีสอนลูกอย่างไร  จึงอยากขอเล่าความรู้สึกเฉพาะส่วนที่มีอยู่ระหว่างลูกกับแม่โดยสังเขปดังนี้

แม่เป็นคนเจ้าระเบียบ     อบรมสั่งสอนให้ดำเนินชีวิตตามกิจวัตรประจำวันที่กำหนดจัดทำเป็นตารางประจำวันไว้  ต้องตื่นนอนเป็นเวลา  รับประทานอาหารเป็นเวลา  ทำงานจนกระทั่งนอน ก็ต้องนอนเป็นเวลา จนผู้ที่รู้จักคุ้นเคยจะเรียกแม่ว่า เครื่องจักรเยอมัน เพราะไม่มีวันหยุดพักงานเลย ไม่มีวันเสาร์ ไม่มีวันอาทิตย์ มีกิจกรรมทุกวันตั้งแต่มีแสงอาทิตย์จนพระอาทิตย์ลับโลก แม่จึงมีโอกาสสะสมกรรมดีไว้ได้มาก

แม่เป็นคนมีเหตุผล   หากความคิดเห็นไม่ตรงกันก็จะต้องขัดไว้เสมอก็ดูจะกลายเป็นดื้อ จนมีคนให้สมญาว่าคุณหญิงมะดัน  อันที่จริงแม่ยอมจำนนต่อเหตุผลต่างๆ ในทุกๆครั้ง  ที่จะมีผู้ชี้แจงให้ฟังรายละเอียดในภายหลัง  และจะไม่โกรธไม่มีความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้ใด มีเพื่อนๆแม่เล่าให้ฟังว่าแม่เป็นคนช่างขัดคอคน แต่งานไหนก็ตามที่ไม่มีแม่ก็จะเงียบเหงาไม่สนุกครึกครื้นเท่าที่ควร  ฉะนั้นแม่จึงได้รับเชิญไปให้เป็นที่ครึกครื้นประจำ  อาจเป็นเพราะคุณสมบัติพิเศษของแม่อันนี้ที่เป็นคุณสมบัติประจำตัวแม่ จึงทำให้แม่มีทั้งเพื่อนและลูกศิษย์มากมาย  กับเป็นที่นิยมรักใคร่เอ็นดูของผู้ใหญ่หลายท่าน

แม่เคารพสิทธิของผู้อื่นแม้กระทั่งลูกๆของตนเอง  ลูกหนีไปสอบใบขับขี่จักรยาน ใบขับขี่รถยนต์ เมื่ออายุถึงก็พลอยยินดีด้วยไม่เคยใช้อำนาจห้ามปรามผู้ใดเลย

ความสุขของแม่  อยู่ที่การสูบบุหรี่  แม้แม่จะเป็นคนมีนิสัยมัธยัสถ์  แต่ในเรื่องการสูบบุหรี่ แม่บอกลูกว่าเป็นความสุขของฉัน  อีกอย่างที่เป็นความสุขของแม่ก็คือการได้สนองพระเดชพระคุณในงานต่างๆ หากยามใดว่าง ก็หาโอกาสไปสนุกอยู่กับบรรดาเพื่อนฝูง

แม่เป็นคนขยัน  ตื่นแต่เช้าก็ต้องหางานทำแล้ว และทำงานไปจนตลอดวันจนกว่าพระอาทิตย์จะตกดิน ประดุจนกที่ออกทำมาหากิน แม่สอนให้ลูกร้องเพลงจากภาพยนตร์บ้านไร่นาเรา "เรืองแสงทอง กระดึงก่องกิ้งมา เป็นสัญญาณบอกเวลาออกทำงาน ฯลฯ "   และให้ยึดคำขวัญของผู้นำของชาติ ในข้อที่ว่า " คนขยันเท่านั้นที่มีเกียรติ "  แม่นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีชนิดที่พูดได้ว่ายอมตายถวายชีวิต  ไม่เคยปริปากถึงความเหนื่อยยากในการปฏิบัติงาน และได้ปฏิบัติงานถวายจนล้มเจ็บไม่สามารถสนองพระเดชพระคุณได้เพราะสังขารชำรุดทรุดโทรมมาก  ในอายุจริงที่เกิด ๘๐ ปีกับ ๑๖ วัน ก็เป็นเรื่องแปลกที่น่าบันทึกไว้เพราะมีหมอดูลายเท้าผู้หนึ่งทำนายไว้ตอนอายุ ๗๓ ปี ว่าท่านอายุ ๘๐ ปีจะเดินไม่ได้ จะนั่งกิน นอนกิน แล้วก็เป็นจริงตามคำทำนาย ถึงแม้แม่เกิดมามีพ่อเป็นเจ้าพระยา  และมีเจ้านายทรงอุปการะชุบเลี้ยงมาโดยตลอด แม่ก็เป็นคนถ่อมตนเสมอ  โดยถือว่าตนเองเป็นคนจนทำให้คิดว่าเพราะชื่อภาษาอังกฤษ (poor) ของแม่แปลว่าจน แม่จึงต้องลำบากและต้องมีความอุตสาหะในการก่อสร้างฐานะครอบครัวร่วมกับพ่อ (พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร)  ตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย เพราะแม่ไม่เคยได้รับมรดกจากผู้ใดเลย สร้างตนเองด้วยความกระเหม็ดกระแหม่รู้จักใช้รู้จักประหยัด  ขยันทำมาหากิน เก็บหอมรอบริบ จนกระทั่งสามารถซื้อบ้าน ซื้อที่ดินเป็นของตนเองและยังซื้อที่ขยายที่ดินออกไปเพื่อแจกลูก จนถึงหลานได้ และลูก-หลาน-เหลน ก็ได้อาศัยอยู่ด้วยความสุขสบายไม่ต้องดิ้นรนให้ลำบากเหมือนสมัยแม่ก่อร่างสร้างตนเลย ทั้งนี้ก็ได้พระบารมีปกเกล้าฯ และบารมีของแม่ปกป้องคุ้มครองและบรรดาลให้

ที่มา :
http://www.nitipat.net/mom/ladypoor1.htm

ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร ท.จ.ว.

ladypoor          ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เกิดจริง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๑  ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีจอ (ในทะเบียนใช้วันที่ ๒๘ ธันวาคม) บุตรี เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี มารดาชื่อเง็ก เกิดที่บ้านฝั่งธนบุรี ตรงข้ามวัดปากน้ำ ตำบลปากคลองด่าน เนื่องจากมารดาเลี้ยงลูกยาก เกิดมาหลายคนเสียชีวิตหมด หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบิดาทราบความ  ก็ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม  แล้วก็ถูกส่งตัวไปเข้ารับการอบรมในพระบรมมหาราชวัง อยู่ในความปกครองดูแลของเจ้าจอมเพิ่ม สุจริตกุล ผู้มีศักดิ์เป็นอา  ตั้งแต่อายุได้ ๒-๓ ขวบ โดยอาศัยเคล็ดโบราณให้ผ่านลอดใต้ท้องช้าง เพื่อเลี้ยงง่าย คุณอาพาไปขึ้นเฝ้าเจ้านายบนพระที่นั่งเทพดนัยบ่อยๆ และได้มีโอกาสเฝ้าทูลกระหม่อมเอียดน้อย (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระเยาว์) ได้รับพระราชทานชื่อว่า พัวพันเพิ่ม ต่อมาใช้คำหน้าเพียงคำเดียวว่า พัว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          พออายุถึงกำหนดที่จะเรียนหนังสือได้  ก็เข้ารับการศึกษาครั้งแรกกับคุณเฒ่าแก่ทองสุก (แมว) วิวัฒนานนท์ ซึ่งพำนักอยู่แถวเต๊ง (ตึกแถว ๒ ชั้น) ใกล้ๆกัน  พออายุครบ ๖ ขวบ ผู้ใหญ่ก็จัดให้ไว้จุก และทำพิธีโกนจุกเมื่อมีอายุเพียง ๙ ขวบ  จากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินี (ล่าง) จบการศึกษามัธยมปีที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วไปศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๑  ถึง ๒๔๖๔ เมื่อจบแล้วได้รับการบรรจุเป็นนางพยาบาลในแผนกโอสถกรรม รับเงินเดือนๆละ ๒๕ บาท  ต่อจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาและฝึกงานที่โรงพยาบาล Queen Mary ที่ Hampstead กับศึกษาวิชาครูพยาบาลที่ Batter See Polytechnique ประเทศอังกฤษ

          ได้รับพระราชทานเลือกให้เป็นพยาบาลประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร ติดตามเสด็จฯ ไปทรงรักษาพระองค์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ต่อมาก็ได้มีโอกาสไปรอบโลกกับเพื่อนๆ ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ กับได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษกับหลานๆ อีกครั้งใน พ.ศ.๒๕๑๕

          ท่านผู้หญิงพัว เคยเป็นนางอนามัย เคยสอนที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ๕ ปี  สอนวิชามาตเวชวิทยา ที่โรงเรียนการเรือน (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยครูสวนดุสิต) เป็นอาจารย์สอนวิชาพิเศษ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลพระมงกุฎ และโรงพยาบาลตำรวจ

          ทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๓  และได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นท่านผู้หญิงเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศชั้นสูงขึ้นตามลำดับ นับแต่ได้รับพระราชทานจตุตถจุลจอมเกล้า จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐

          ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร  ได้รับพระมหากรุณาประกอบพิธีสมรสพระราชทานกับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (การ์ด วัชโรทัย) เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นพระยาประชุม มงคลการ  เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๐ มีบุตรชายฝาแฝด ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองคน ชื่อ แก้วขวัญ ขวัญแก้ว  และมีบุตรี ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ชื่อ เฉลิมพร มีหลานย่าและหลานยาย รวมทั้งหมด ๖ คน เป็นหญิงคนหนึ่งชื่อรัตนาภา และชาย ๒ คนชื่อ รัตนาวุธ และวัชรกิตติ เกิดจากนายแก้วขวัญ และ ม.ล.เพ็ญศรี ชายอีก ๒ คน ชื่อ ฐานิสย์ และดิศธร เกิดจากนายขวัญแก้ว และพันเอกแพทย์หญิงวัฒนา หลานชายคนเล็กชื่อ วิน เกิดจากนางเฉลิมพร ปัจจุบันมีเหลนหลายคน

ที่มา
http://www.nitipat.net/mom/ladypoor.htm

นามสกุลพระราชทาน 5 นามสกุลแรก

kingmongkut

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติขนานนามสกุล” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 แต่ได้เลื่อนเวลาบังคับใช้ออกไปอีก 2 คราว เป็นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 และบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458

  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
  • นามสกุลที่ได้รับพระราชทานครั้งแรก 5 สกุล คือ

- สุขุม พระราชทาน เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล

- มาลากุล พระราชทาน พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิการณาธิบดี) เสนาบดีกระทรวงวัง

  1. - พึ่งบุญ พระราชทาน พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ) จางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม
  2. - ณ มหาไชย พระราชทาน พระยาเทพทวาราวดี (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำเรอบริรักษ์) อธิบดีกรมมหาดเล็ก
  3. - ไกรฤกษ์ พระราชทาน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ อธิบดีกรมชาวที่ และ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามหิธร) กรรมการศาลฎีกา
  • นามสกุลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้มีทั้งสิ้น 6464 นามสกุล แยกเป็นนามสกุลตามสมุดทะเบียน 6439 นามสกุล (ในสมุดทะเบียนลงลำดับที่นามสกุลที่ได้พระราชทานไปเพียง 6432 นามสกุล) นามสกุลพิเศษ 1 นามสกุล และนามสกุลสำหรับราชสกุลรัชกาลที่ 4 อีก 24 นามสกุล
  • นามสกุลพิเศษที่มิได้ลงลำดับที่ในสมุดทะเบียนนามสกุลคือ ณ พิศณุโลก พระราชทาน หม่อมคัธริน ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
  • นามสกุลสุดท้ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คือ ตันตริยานนท์ พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ ผู้ช่วยนายเวรกรมบาญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ปู่ชื่อตันก๊กเหลียง บิดาชื่อตันเต็งหยง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2468
  • ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับพระราชทานนามสกุลคือ เด็กชายบัว อายุ 6 ขวบ มหาดเล็กรุ่นจิ๋ว ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ศจิเสวี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2465

แหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

พระยาผู้ยืนชิงช้า สมัย ร.5 – ร.7

รายนามพระยาผู้ยืนชิงช้า
ตั้งแต่สมัย ร.๕ (พ.ศ.๒๔๑๑) ถึงสมัย ร.๗ (พ.ศ.๒๔๗๗)

          เปิดหนังสือ "พระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย(จากพระราชพิธี ๑๒ เดือน)" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง พระยาชลมารคพิจารณ์ อธิบดีกรมชลประทาน พิมพ์เมื่อเป็นพระยายืนชิงช้า ปีจอ พ.ศ.๒๔๗๗ แล้วไปพบรายนามพระยา ผู้ยืนชิงช้า ตั้งแต่สมัย ร.๕ (พ.ศ.๒๔๑๑) ถึงสมัย ร.๗ (พ.ศ.๒๔๗๗) ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จัดพระราชพิธีดังกล่าว นั่นหมายถึงรายนามของพระยาผู้ยืนชิงช้าที่ปรากฏนี้คือรายนามทั้งหมดเท่าที่ ปรากฏเป็นเอกสาร ก็เลยนำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ

img105

ปกหนังสือชำร่วยในพระราชพิธีตรียัมพวาย
พ.ศ. ๒๔๗๗

รายนาม พระยาผู้ยืนชิงช้า ในสมัยรัชกาลที่ ๕

๑.พระยาสีหราชเดโชชัย (พิณ) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ / ๒.พระยาสีหราชฤทธิไกร (บัว รัตโนบล) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒ / ๓.พระยาราชสุภาวดี (เพ็ง เพ็ญกุล) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง)/ ๔.พระยามหาอำมาตยาธิบดี (มั่ง สนธิรัตน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์)/ ๕.พระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่นกัลยาณมิตร) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ / ๖.พระยาธรรมสารนิติ (พลับ อมาตยกุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ / ๗.พระยาราชวรานุกูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ / ๘.พระยาสาปนกิจโกศล(โหมด อมาตยกุล) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ / ๙.พระยาศรีสหเทพ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ปีชวดพ.ศ.๒๔๑(ภายหลังเป็นพระยามหาอำมาตยาธิบดี)/๑๐.พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก โชติกพุกกณะ) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ / ๑๑.พระยาจ่าแสนบดี (เดช) ปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ / ๑๒.พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (เผือก เศวตนันทน์) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒ / ๑๓.พระยานานาพิธภาษี (โต บุนนาค) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ / ๑๔.พระยารัตนโกษา (จีน จารุจินดา) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔(ภายหลังเป็นพระยา เพชรพิชัย)/ ๑๕.พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตนพันธุ์) ปีมะเมียพ.ศ. ๒๔๒๕(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช)/๑๖.พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียร โชติกเสถียร) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๒๖ / ๑๗.พระยามนตีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗ / ๑๘.พระยาอยุชิตชาญชัย (พึ่ง สุวรรณทัต) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ / ๑๙.พระยามณเฑียรบาล (คง สโรบล) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ / ๒๐.พระยาธรรมสารนิติ (ตาด อมาตยกุล) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ / ๒๑.พระยาเกษตรรักษา (นิล กมลานนท์) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ / ๒๒.พระยาอิศรานุภาพ (เอี่ยม บุนนาค) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒ / ๒๓.พระยามหามนตรี (เวก ยมาภัย) ปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ (ภายหลังเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์) / ๒๔.พระยาสีหราชเดโชชัย (โต บุนนาค) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์) / ๒๕.พระยาพิชัยบุรินทรา (ฉ่ำ บุนนาค) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยากลาโหมราชเสนา) / ๒๖.พระยาไกรโกศา (เทศ ภูมิรัตน) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๓๖ / ๒๗.พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์) / ๒๘.พระยาวุฒิการบดี (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร) / ๒๙.พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ / ๓๐.พระยาศรีพิพัฒน์ (หงส์ สุจริตกุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศิริรัตนมนตรี) / ๓๑.พระยาเพชรพิชัย (สิงโต) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ / ๓๒.พระยาอนุชิตชาญชัย (ทองคำ สีหอุไร) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสีหราชฤทธิไกร) / ๓๓.พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยะศิริ) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓(ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหาอำมาตยาธิบดี)/ ๓๔.พระยาทิพยโกษา (หมาโต โชติกเสถียร)ปีฉลู พ.ศ.๒๔๔๔ / ๓๕.พระยาอภัยรณฤทธิ์(บุตร บุณยรัตน์พันธ์)ปีขาล พ.ศ.๒๔๔๕ / ๓๖.พระยาเทพอรชุน(เจ๊ก จารุจินดา)ปีเถาะ พ.ศ.๒๔๔๖ / ๓๗.พระยาอนุชิตชาญชัย(สาย สิงหเสนี)ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ / ๓๘.พระยาประสิทธิ์ศัลยการ (สะอาด สิงหเสนี) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘(ภายหลังเป็นพระยาสิงหเสนี)/ ๓๙.พระยาบำเรอภักดิ์(เจิม อมาตยกุล)ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙ / ๔๐.พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(ม.ร.ว.ลบ สุทัศน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๕๐(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา)/ ๔๑.พระยาสีหราชเดโชชัย(ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) / ๔๒.พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๕๒ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี)

รายนาม พระยาผู้ยืนชิงช้า ในสมัยรัชกาลที่ ๖

๑.พระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ / ๒.พระยารักษ์มหานิเวศน์ (กระจ่าง บุรณศิริ) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ / ๓.พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร(ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๕(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาธรรมธิกรณาธิบดี) / ๔.พระยาเวียงในนฤบาล (เจ๊ก เกตุทัต) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ / ๕.พระยาศรีวรุวงศ์ (ม.ร.ว.จิตร สุทัศน์) ปีขาล พ.ศ.๒๔๕๗ /๖.พระยาราชนุกูล (อวบ เปาโรหิต) เถาะ พ.ศ.๒๔๕๘ / ๗.พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เชย ยมาภัย) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙(ภายหลังเป็นพระยายมาภัยพงศ์พิพัฒน์) / ๘.พระยาสีหราชเดโชชัย (แย้ม ณ นคร) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) / ๙.พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๖๑ / ๑๐.พระยาธรรมจรรยานุกูลมนตรี (ทองดี โชติกเสถียร)ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ / ๑๑.พระยาญาณประกาวิศาล (เลื่อน ศุภศิริวัฒน์) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓ / ๑๒.พระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณยรัตพันธุ์) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ / ๑๓.พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕ / ๑๔.พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ / ๑๕.พระยาสุวรรณศิริ (ทองดี สุวรรณศิริ) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๖๗

รายนาม พระยาผู้ยืนชิงช้า ในสมัยรัชกาลที่ ๗

๑.พระยาบำเรอบริรักษ์ (สาย ณ มหาชัย) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ / ๒.พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ / ๓.พระยาอิศรพัลลภ (สนิท จารุจินดา) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๗๐ / ๔.พระยากลาโหมราชเสนา (เล็ก ปาณิกบุตร) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๗๑ / ๕.พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริญญานนท์) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ / ๖.พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง โชติกะพุกกณะ) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๗๓ / ๗.พระยาปฎิพัทธภูบาล (คออยู่เหล ณ ระนอง) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔ / ๘.พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๗๕ / ๙.พระยาอมเรศสมบัติ (ต่วน ศุวณิช) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๗๖ / ๑๐.พระยาชลมารค์พิจารณ์ (ม.ล.พงษ์ สนิทวงศ์) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๗๗

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่
ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงเสนี) (พ.ศ. 2320-2392) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) "เจ้าพระยาบดินทรเดชา" เป็นราชทินนามพิเศษ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานราชทินนามนี้มีแต่ท่านเพียงผู้เดียวเท่านั้น

ชาติกำเนิด
เจ้าพระยาบดินทรเดชา ..... เป็นบุตรคนที่ 4 ของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กับท่านผู้หญิงฟัก เมื่อปีระกา 2320 บรรพบุรุษของท่านเป็นพราหมณ์ ชื่อ " ศิริวัฒนะ " รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่ง " ราชปุโรหิต " บิดาของท่านเป็นข้าหลวงเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นที่สมเด็จพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ..... เกิดวันพุธ เดือนยี่ แรมหัวค่ำ ปีมะแม พ.ศ. 2318 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม 2318 ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออก ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตกรุงเทพมหานคร ( คือบริเวณสะพานช้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทย)

การศึกษา
..... ได้รับการศึกษาตามแบบบุตรหลานขุนนาง ซึ่งสันนิษฐานว่าศึกษาอักขรสมัยในสำนักพระวันรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

บุคลิกลักษณะ
..... ท่านเป็นผู้เข้มแข็ง เฉียบขาด อดทน เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความละเอียดรอบคอบ รู้และเข้าใจบุคคลอื่น รู้เท่าทันเหตุการณ์

รับราชการ
..... ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยบิดาได้นำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวง อิศรสุนทร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " จมื่นเสมอใจราช "
..... ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " พระพรหมสุรินทร ์" เจ้ากรมพระตำรวจขวา เมื่อกลับจากรับราชการที่เมืองเขมรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาราชโยธา " และต่อมาได้เป็น " พระยาเกษตรรักษา " ว่าการกรมนา ฝ่ายพระราชวังบวร
..... ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์โดยลำดับ จาก " พระยาราชสุภาวด ี" เป็น " เจ้าพระยาราชสุภาวด ี" ว่าที่สมุหนายก และเป็น " เจ้าพระยาบดินทรเดชสมุหนายก " ในขณะที่ท่านมีอายุ 53 ปี

jauwprayaผลงาน
..... ในฐานะแม่ทัพ ท่านสามารถนำทัพออกรบจนประสบผลสำเร็จ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้
..... - ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทร์ พ.ศ. 2369-2372
..... - สงครามระหว่างไทยกับญวน พ.ศ. 2376-2390
..... - ปราบการจราจลในเขมร พ.ศ. 2376-2392
..... ในด้านการทูตและการเมือง ท่านมีความสามารถในการเจรจาโต้ตอบเชิงการทูต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำสงคราม เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องใช้กำลัง เช่น การเจรจาปล่อยญวณที่เมืองโพธิสัตว์ เจรจาปัญหาญวณเกลี้ยกล่อมเขมร และการแต่งตั้งพระองค์ด้วงไปปกครองเขมร
..... ในด้านเศรษฐกิจ ท่านสามารถแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจแตกสลายของเขมรในช่วงการทำสงครามติดต่อกัน ถึง 14 ปี โดยการหาเสบียงอาหารให้เพื่อบรรเทาความขาดแคลน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรทำนาปรัง ราษฏรทำนาไม่ได้ผลก็กราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดยกเว้นไม่เก็บค่าที่นา แม้แต่การจัดหาตุ่มใส่น้ำให้เขมรที่เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านก็ยังเอาใจใส่ไม่ละเลย
..... ในด้านรักษาความสงบราบคาบ ท่านได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้จัดการดูแลเมืองเขมร ซ่อมแซมป้อมค่ายเมืองพระตะบองเพื่อใช้เป็นฐานกำลังของไทยที่จะคุมเชิงและควบ คุมเขมร ให้การสนับสนุนพระองค์ด้วงกษัตริย์ของเขมร โดยเอาใจใส่ตรวจตราดูแลความมั่นคงและปลอดภัยให้ด้วย และจัดการสร้างเมืองอุดงมีชัย มีการขุดคูเมือง ทำเชิงเทิน สร้างป้อมค่ายให้แข็งแรง ท่านนำนโยบายห้ามสูบฝิ่น ซื้อขายฝิ่น ไปใช้ในเขมร อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาโจรผู้ร้าย ท่านจะกวดขันห้ามปราม เมื่อจับได้จะทำโทษอย่างหนักไม่เว้นแม้แต่บุตรหลานท่าน
..... ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านสืบทอดพระพุทธศาสนาหลายอย่างคือ
..... สร้างวัดใหม่ ได้แก่
..... - วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก เวิ้งนครเกษม)
..... - วัดเทพลีลา (วัดเทพลิ้นลา หรือวัดตึกคลองตัน)
..... - วัดพระยาทำ (วัดกระโดน)อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
..... - วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดโรงเกวียน อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดตราพระยา อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
..... - วัดหลวงบดินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
..... - วัดที่เมืองพระตะบอง และเมืองอุดงมีชัย ในเขมร
..... ปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรม ได้แก่
..... - วัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม)
..... - วัดปรินายก (วัดพรหมสุรินทร์)
..... - วัดช่างทอง (วัดเกาะเรียน อยุธยา)
..... - วัดวรนายกรังสรรค์ (เขาดิน) อยุธยา
..... - วัดศาลาปูน กรุงเก่า
..... - วัดอรัญญิกแขวงเมืองสระบุรี

อสัญกรรม
..... วันอาทิตย์ ที่ 24 มิถุนายน 2392 ด้วยโรคปัจจุบัน (อหิวาตกโรค) ที่บ้านริมคลองโอ่งอ่าง (บริเวรเชิงสะพานหัน กับบ้านดอกไม้) รวมศิริอายุ 72 ปี ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว

อนุสรณ์สถาน
..... จากผลงานและคุณงามความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติ ทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณ ของท่านหลายแห่งดังนี้
..... - เมืองอุดงมีชัย ประเทศเขมร
..... - วัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม)
..... - โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
..... - โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
..... - วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร
..... - ค่ายบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 อ.มะขาม จ.จันทบุรี
..... - ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวรชายแดนที่ 12 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
..... - ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 อ.เมือง จ.ยโสธร

แหล่งข้อมูล :
( คัดจากหนังสืออนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี)

http://www.bodin4.ac.th/jauwpraya.html

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2_%28%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5%29

ประวัติสถานีตำรวจภูธรจังหวัดระนอง

pvn1

ตำรวจภูธรจังหวัดระนองเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช 2451 เดิมใช้ชื่อว่า"กองตำรวจภูธรจังหวัดระนอง"มีขุนเริงระงับภัยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับกองคนแรก สถานที่ทำการของกองตำรวจสร้างเป็นอาคารไม้ยกพื้นขนาดกว้าง 11 คูหา ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งของสภ.อ.เมืองระนองปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2485 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง" โดยมี พ.ต.ท.ถวิล คำเถียรดำรงตำแหน่งเป็นผู้กับกำการเป็นคนแรก โดยสถานที่ทำการก็ยังใช้สถานที่เดิมร่วมกับ สภ.อ.เมืองระนองมาจนกระทั่ง พ.ศ.2504 จึงได้มีการสร้างอาคารกองกำกับการแยกเป็นสัดส่วนมาจาก สภ.อ.เมืองระนอง โดยอาคารแรกได้สร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กว้าง 4 คูหา ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างติดต่อกับสภ.อ.เมืองระนอง และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2518 ในยุคของ พ.ต.ท.เทียน สุโกศล ผู้กับกำการฯ ก็ได้สร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมา ณ.บริเวณด้านหน้าที่ทำการเดิมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาด 5 คูหา และได้ใช้อาคารหลังนี้เรื่อยมา  ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2539 กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง ก็ได้ถูก ยกฐานะเป็น"กองบังคับการ" โดยมี พล.ต.ต.วิชัย สุขมงคล เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการคนแรก ก็ได้ใช้อาคารหลังเดินโดยต่อเนื่องเรื่อยมา  จนกระทั่งปี พ.ศ.2546 ก็ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างที่ทำการแห่งใหม่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 15 ล้านบาท โดยก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้นทรงปั้นหยา สร้างอยู่บนเนื้อที่ 50 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 182/17 หมู่ 2 ถนนเพชรเกษม ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ 30 ก.ย. 2546 เสร็จสิ้นเมื่อ 13 ก.พ.2548 และได้มีพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ส.ค.2548 โดยมีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเป็นประธาน

IMG4563 IMG0231

แหล่งข้อมูล :
http://www.ranong.police.go.th/link1.htm
http://www.muangranongpolice.com/menu1.php

ร.อ.ขุนเริงระงับภัย (คิด สุนทรสิงห์)

ผบ.กองฯ คนแรกของสถานีตำรวจภูธรเมืองระนอง
ผู้บังคับบัญชาในอดีต - ปัจจุบัน

ลำดับที่ ยศ                ชื่อ                 สกุล ตำแหน่ง ปี พ.ศ.
1    ร.อ.ขุนเริงระงับภัย ผบ.กองฯ 2451
2    ร.อ.ขุนวินัยประชาบาล ผบ.กองฯ 2453
3    ร.ต.อ.หลวงตลอดไตรภพ ผบ.กองฯ 2455
4    ร.ต.อ.หลวงพิทักษ์ ผบ.กองฯ 2458
5    ร.ต.อ.หลวงอิศรานุเคราะห์ ผบ.กองฯ 2460
6    ร.ต.อ.หลวงสนานนราภู ผบ.กองฯ 2463
7    ร.ต.อ.หลวงสุรการบัญชา ผบ.กองฯ 2465
8    ร.ต.อ.หลวงจิตประชานุรักษ์ ผบ.กองฯ 2475
9    ร.ต.อ.ขุนประจนจบทิศ ผบ.กองฯ 2475
10    ร.ต.อ.ผัน  ศิริธร ผบ.กองฯ 2482
11    ร.ต.อ.ขุนสนธิสุตารักษ์ ผบ.กองฯ 2483
12    พ.ต.ต.หลวงค้นสาคร ผบ.กองฯ 2484
13    ร.ต.อ.เยื้อน  แพทย์สนาน ผบ.กองฯ 2488
14    ร.ต.อ.ระมัด  นิยมไทย รอง ผกก รกท ผบ กอง 2491
15    ร.ต.อ.ประเสริฐ  สิงหานนท์ รอง ผกก รกท ผบ กอง 2495
16    พ.ต.ต.กิตติ  เลิศสมภัย รอง ผกก รกท ผบ กอง 2498
17    ร.ต.อ.ทอง  ผุดผาด รอง ผกก รกท ผบ กอง 2499
18    ร.ต.อ.ชิต  รัตนกุล ผบ. กองฯ 2500
19    พ.ต.ต.จักร  ศิริพันธ์ ผบ. กองฯ 2508
20    ร.ต.อ.โชติ มุสิกบุตร ผบ. กองฯ 2510
21    ร.ต.อ.เสรี  พรรคพิบูลย์ ผบ. กองฯ 2514
22    พ.ต.ต.สมจิตร วังน้อย ผบ. กองฯ 2515
23    พ.ต.ต.ประทีบ  ทองประดิษฐ์ ผบ. กองฯ 2517
24    พ.ต.ต.สมโภชน์  สุนทรวร สวญ.ฯ 2519
25    พ.ต.ต.ทรง เรืองศรี สวญ.ฯ 2522
26    พ.ต.ท.วีระ ปานจันทร์ สวญ.ฯ 2524
27    พ.ต.ท.เสถียร จันทร์สว่าง สวญ.ฯ 2526
28    พ.ต.ท.พงษ์เทพ  ประภาตะนันท์ สวญ.ฯ 2529
29    พ.ต.ท.วิพันธ์ พันธ์วิชาติกุล สวญ.ฯ 2530
30    พ.ต.ท.ปรีชา จินดาวัฒน์ สวญ.ฯ 2532
31    พ.ต.ท.สุดใจ  ญาณรัตน์ สวญ.ฯ 2534
32    พ.ต.ท.สมชาย อ่วมถนอม สวญ.ฯ 2536
33    พ.ต.อ.ไพฑูรย์ พัฒนโสภณ ผกก.ฯ 2537
34    พ.ต.อ.สมชาย โพธิ์เย็น ผกก.ฯ 2539
35    พ.ต.อ.สมชาย  อ่วมถนอม ผกก.ฯ 2541
36    พ.ต.อ.ไกรวุฒิ  ชวาลเสนีย์ ผกก.ฯ 2546

แหล่งข้อมูล

สถานีตำรวจภูธรเมืองระนอง เลขที่ 24 ถ.ดับคดี อ.เมือง จ.ระนอง 85000 โทร.0-7781-1273
จ.ส.ต.บัญชา รัตนสุวรรณวุฒิ email :: pootale2004@yahoo.com